หงส์หิน : การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา

Other Title:
Honghin : A comparative study of Northeastern and northern versions
Author:
Subject:
Date:
1994
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องหงส์หินฉบับอีสานกับฉบับล้านนา ฉบับอีสานได้จากต้นฉบับใบลานของวัดกลาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จำนวน 5 ผูก บันทึกด้วยอักษรธรรมอีสาน ส่วนฉบับล้านนาคือคร่าวซอหงส์ผาคำ ของพระยาโลมาวิสัย ฉบับเทียบอักษรล้านนาและไทยที่พิมพ์เผยแพร่แล้ว วรรณกรรมเรื่องหงส์หินทั้ง 2 ฉบับ มุ่งสั่งสอนชาวอีสานและล้านนา ให้มีความเชื่อในเรื่องกรรม การทำความดี ละเว้นความชั่ว ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธ
ผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณะอักษร และอักขรวิธีที่ปรากฏในเรื่องหงส์หินฉบับอีสาน ศึกษารูปแบบคำประพันธ์ของเรื่องหงส์หินทั้ง 2 ฉบับ เปรียบเทียบธรรมเนียมในการแต่ง แก่นของเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก อนุภาคของเรื่อง ศิลปะการใช้ภาษา และลีลาวรรณคดี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบวรรณกรรมในเชิงสังคมเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ สภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ค่านิยม หลักธรรมคำสอน
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องหงส์หิน ทำให้ทราบว่าวรรณกรรมเรื่องหงส์หินฉบับอีสานได้รับเค้าโครงเรื่องจากวรรณกรรมเรื่องหงส์หินฉบับล้านนา โดยผ่านทางอาณาจักรล้านช้างมาอีกทอดหนึ่ง และได้ดัดแปลงเนื้อเรื่องให้ต่างไปจากต้นฉบับเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อประเพณี ค่านิยม ของคนในท้องถิ่นนั้น การศึกษาวรรณกรรมทำให้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานและล้านนา ที่ควรจะรักษาและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมต่อไป The purpose of this thesis is to study and compare the northeastern version of Honghin to the northern one. The study of northeastern version bases on palm manuscripts form Wat Klang, Amphoe Muang, Changwat Surin which comprises of 5 books (phuk) written in traditional northeastern alphabets (akson Dhamma) while the northern version bases on Khraoso (Ballad of) Hong Pha Kham printed in traditional northern alphabets and modern Thai. The two works are Buddhist didactic literature which aim at teaching the people to believe in the law of Karma, to perform merits and avoid evil.
The researcher studied the alphabets and spelling system of the northeastern Honghin and the prosody of the two versions, compared the literary conventions, themes, plots, characters, sets, motif, styles and techniques and analysed their influence on belief, ways of life, culture, tradition and value of the people in the two societies.
The comparative study indicates that the plot of northeastern Honghin come from the northern version through Lanchang (Lao) Kingdom. The story and details were adapted to suit the ways of life, belief, tradition and value of that local people. The study also reveals the merits and importance of the northeastern and northern literature which should be preserved and promulgated in literary world.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537 Thesis (M.A. (Thai epigraphy))--Silpakorn University, 1994)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
289