ลักษณะอักษร และอักขรวิธีในจารึกสมัยสุโขทัย

Other Title:
The characteristies of the scripts and their orthography in Sukhothai inscriptions
Author:
Date:
1981
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ลักษณะตัวอักษร และอักขรวิธีในจารึกสมัยสุโขทัย โดยใช้หลักฐานจาก หนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ภาคที่ 3 ภาคที่ 4 บทความ สำเนาจารึก ภาพถ่าย และศิลาจารึก บางหลัก เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษา
วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยเรื่อง ๆ จำนวน 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึง ปัญหาสำคัญในการศึกษา ความมุ่งหมาย ขอบเขต ความหมายเฉพาะคำ ข้อตกลงเบื้องต้น วิธีดำเนินการศึกษา บทที่ 2 กล่าวถึง ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย โดยสังเขป บทที่ 3 อธิบายลักษณะและวิวัฒนาการของตัวอักษร ในจารึกสมัยสุโขทัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่ สมัยพ่อขุนรามคำแหง สมัยพระเจ้าเลอไทย สมัยพระเจ้าลือไทย สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมัยพระเจ้าไสยลือไทย โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับตัวอักษร ปัลลวะ สมัยทวารวดี อักษรขอมโบราณ อักษรมอญโบราณ และอักษรขอมหวัด ที่พบในประเทศไทย ซึ่งมีอายุก่อนสมัยสุโขทัย บทที่ 4 อธิบาย อักขรวิธีในจารึกสมัยสุโขทัย ได้แก่ การใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่าง ๆ บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาพบว่า ตัวอักษรในจารึกสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้ายตัวอักษรขอม สมัยต่าง ๆ และอักษรมอญโบราณ ซึ่งเชื่อว่าต่างก็พัฒนารูปแบบมาจาก อักษรปัลลวะ สมัยทวารวดี ด้วยกัน และอักษรที่พบในจารึกสมัยสุโขทัย ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน และมีลักษณะคล้ายกับอักษรไทยสมัยปัจจุบัน ส่วนอักขรวิธีที่ใช้ในจารึกสมัยสุโขทัย นั้น สมัยพ่อขุนรามคำแหง เขียนสระ และพยัญชนะ เรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเลอไทย ได้เปลี่ยนมาเขียน สระ ไว้รอบพยัญชนะ เหมือนอักขรวิธีที่ใช้ในปัจจุบันนี้ The main purpose of this thesis is to investigate and compare the characteristics of the scripts and their orthography in Sukhothai Inscriptions. Data from collection of inscriptions (Volume I, III and IV), articles, rubbings, photographs, and a number of inscriptions are collected and analysed.
This thesis is divided into 5 Chapter. The first one is the introduction which deals with significant problems, its purposes, scopes, definition of terms, basic assumptions, research methodology and documents. The second Chapter outlines a brief history of the Sukhothai period. The third Chapter dealing with the characteristic evaluation of the scripts in Sukhothai Inscriptions, is divided into 5 periods : the periods of King Ramkhamhaeng, King loe Thai, King Lii Thai, King Maha Dhammaraja II, and King Sai Lu Thai. They are compared with Pallava scripts of Dvaravati period, the scripts of Ancient Khmer and its cursive form as well as Ancient Mon, which were discovered in Thailand before the Sukhothai period. The fourth Chapter describes the orthography in Sukhothai Inscriptions : the use of consonants, vowels, tones and different symbols. The summary and suggestions are given in Chapter V.
The result of this thesis shows that there exists some similarities among Sukhothai scripts, Khmer scripts of different periods and Ancient Mon scripts. This teatisfies the fact that all of them evolved from Pallava scripts of the Dvaravati period. In addition, most Sukhothai scripts do not differ from Modern Thai scripts. However, in Ram Khamhaeng inscription, vowels and consonants are put in the same line. The present orthography which has the vowels put around the consonants, has been in use since the period of King Loe Thai.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524 Thesis (M.A. (Thai epigraphy))--Silpakorn University, 1981)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
801