พญาหงส์ วรรณกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์

Other Title:
(No Title)
Author:
Date:
1997
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรื่อง พญาหงส์ ซึ่งปรากฏอยู่ในสมุดข่อยหรือชาวภาคใต้เรียกว่า “หนังสือบุด” จำนวน 1 เล่ม การศึกษา วิเคราะห์นั้น จะพิจารณาถึงลักษณะอักษรอักขรวิธี คุณค่าทางด้านวรรณกรรมและสังคม
วิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 5 บท บทที่ 1 เป็นบทนำ บทที่ 2 ว่าด้วยลักษณะการบันทึกวรรณกรรมภาคใต้ ลักษณะตัวอักษรและอักขรวิธีของวรรณกรรมเรื่องพญาหงส์ การเปรียบเทียบอักษรร่วมสมัยของวรรณกรรมเรื่องพญาหงส์ บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ในเชิงวรรณกรรม บทที่ 4 ว่าด้วยการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงสังคม และบทที่ 5 เป็นบทสรุป และข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่า อักษรที่ใช้บันทึกเป็นอักษรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อักขรวิธี บันทึกตามเสียงพูดในภาษาถิ่นใต้ แต่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นนิทานชาดก เกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยตรง กวีน่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากชาดกในพระไตรปิฎก เรื่องหังสชาดก หรือ จากอรรถกถาชาดก เรื่อง มหาหังสชาดก ลักษณะของเรื่องมุ่งสอนหลักธรรมสำหรับคนทั่วไป
รูปแบบการประพันธ์ เป็นร้อยกรองประเภทกาพย์ กวีมีความสามารถในการใช้ภาษาทั้งด้าน ถ้อยคำ สำนวนโวหาร อันก่อให้เกิดอรรถรสทางวรรณคดี และยังแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี วิถีชีวิตของชาวภาคใต้อย่างน่าสนใจ This thesis is to study the Phayahong, a literary work of Surat Thani Province, which appeared in one volume of a traditional Thai Book, “Samut khoi” or what is called by southerners “Nangsue But” . This analytical study is emphasized on the script, the writing system and the literary and social values.
The thesis is divided into 5 chapters. The first one id the introduction. The second deals with the script and the writing system used in the work. The third is the literary analysis. The fourth is the social analysis. And the last chapter includes the conclusion and suggestions.
The results of the study are that the script in the work is of the early Ratanakosin Period and the writing system is based on the southern Thai dialect. However, there is no exact standard in the transliteration. “Phayahong” is a tale of a previous birth of the Buddha. Its original is Hamsajataka in the Tipitaka, of which there are three commentaries, namely Mahahamsajataka, Hamsajataka and Cullahamsajataka. The contents stress on the Buddhist Teaching regarding the Bodhi sattva’s perfection.
The work is written in a Thai form of poetry known as “Kaap”. The poet is very good at using words and figures of speech by which the readers and the listeners are moved sensationally. Besides, the work reflects the society, values, beliefs, traditions and the way of living of the southerners.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (Thai epigraphy))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
76