พงษาวดารพระนารายณ์เมืองลพบุรีคำฉันท์ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์

Other Title:
Phongsawadan Phra Narai Muang Lopburi Kham Chan : an analylical study
Subject:
Date:
1994
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ในเชิงวรรณกรรมประวัติศาสตร์ โดยการเปรียบเทียบเนื้อหากับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพนรัตน์ พร้อมกับตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ในเชิงวรรณศิลป์และเชิงสังคมด้วย
สาระในวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ บทที่ 2 กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพงษาวดารพระนารายน์เมืองลพบุรีคำฉันท์ บทที่ 3 ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมในเชิงประวัติศาสตร์ และตรวจสอบหลักฐานความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ บทที่ 4 ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมในเชิงวรรณศิลป์ บทที่ 5 ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมในเชิงสังคม และบทที่ 6 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลของการวิจัยทำให้ทราบว่า พงษาวดารพระนารายน์เมืองลพบุรีคำฉันท์ ผู้นิพนธ์คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร และนายคร้าม (คล้าม, คล้ำ) นิพนธ์ประมาณพุทธศักราช 2413-2430 มีลักษณะเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ เนื้อหาสาระเหมือนกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพนรัตน์ทุกประการ ส่วนที่แตกต่างกันจะเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น สำหรับการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏว่าพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฯ ได้บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญไม่ถูกต้องหลายประการ เช่น ปีพุทธศักราชที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หัวหน้าคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตกับประเทศฝรั่งเศส พระชนมายุและจำนวนพระชันษาการครองราชย์สมบัติของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น
นอกจากนั้นวรรณกรรมเรื่องนี้ยังให้คุณค่าทางวรรณศิลป์และคุณค่าทางด้านสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ไพเราะและชัดเจนเรื่องหนึ่ง จึงสมควรที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในวงวรรณกรรมสืบไป The aim of this thesis is to study Phongsawadan Phra Narai Muang Lopburi Kham Chan in historical, Literary and social contexts.
The thesis is devided into 6 chapters. The first one is an introduction. The second chapter deals with the background of this literary work. The third, fourth and fifth ones are devoted to analytical study in historical, literary and social aspects. And the last one is the conclusion and suggestion. From the study, it is clear that Phongsawadan Phra Narai Muang Lopburi Kham Chan was written around A.D. 1870 – 1887 by H.R.H. Prince Arunniphakhunakon and Nai Kram (or Klam). Historically, the subject matter of the work is identical with that of The Ayuthaya Chronicle (Phongsawadan Krungsiayuthaya) written by Somdet Phanarai with only few differences in detail.
On examining the historical evidences, it is found that there are some mistakes in the Ayuthaya Chronicle such as, the year when King Narai sent Chao Phraya Kosathibodi (Pan) as Thai ambassador to France, King Narai’s age, the duration of his reign etc. Last but not least the thesis reveals that Phongsawadan Phra Narai Muang Lopburi Kham Chan is a notable and valuable work both in literary and social aspects and thus should be preserved and propagated in literary world.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537 Thesis (M.A. (Thai epigraphy))--Silpakorn University, 1994)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
18