จารึกสุโขทัย : การวิเคราะห์สารัตถะและสัมพันธภาพ

ชื่อเรื่องอื่น:
Sukhothai inscriptions : an analysis of their contents and their internal links
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1994
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์สารัตถะและศึกษาสัมพันธภาพภายในของสารัตถะจารึกสุโขทัย สมัยราชวงศ์พระร่วง โดยการจำแนกประเภทของสารัตถะจารึกอย่างเป็นระเบียบ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบของสารัตถะจารึกอย่างละเอียด ต่อจากนั้นจึงศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องภายในของสารัตถะจารึกสุโขทัยแต่ละประเภท โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของสารัตถะจารึกที่ได้วิเคราะห์ไว้แต่ต้น สุดท้ายจึงสังเคราะห์ศึกษาสัมพันธภาพภายในของสารัตถะจารึกสุโขทัยทั้งมวล
จากการศึกษาสามารถจำแนกประเภทของสารัตถะจารึกตามลักษณะความสัมพันธ์ของสารัตถะออกเป็น 5 ประเภท คือ
1) จารึกสรรเสริญกษัตริย์หรือราชวงศ์และแสดงกิจกรรมทางศาสนา
2) จารึกแสดงกิจกรรมทางศาสนา
3) จารึกสัตยประติชญา
4) จารึกกฎหมายลักษณะโจร
5) จารึกปกิณกะ
สารัตถะของจารึกแต่ละประเภทมีองค์ประกอบแตกต่างกันตามสภาพของสารัตถะจารึกประเภทนั้น องค์ประกอบที่ได้วิเคราะห์คือ
- สาระสำคัญของเรื่อง
- โครงเรื่อง
- กลวิธีในการดำเนินเรื่อง
- เจ้าของ
- จุดมุ่งหมาย
- แนวความคิดสำคัญ
จากการศึกษาสัมพันธภาพภายในของสารัตถะจารึกสุโขทัย พบว่าสารัตถะจารึกทั้งมวลมีองค์ประกอบของสารัตถะสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันหลายประการ โดยเฉพาะในด้านแนวความคิดเรื่องรัฐและกษัตริย์ และแนวความคิดทางเวลาที่มีรากฐานจากคติทางพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งถูกเร่งเร้าสำนึกและมีปฏิสัมพันธ์กับกษัตริย์ในแคว้นสุโขทัย ผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายในรัฐสีมาของสุโขทัยนี้เอง ทั้งกษัตริย์ ราชวงศ์ เจ้าขุนมูลนาย และพระสังฆาธิการผู้ใหญ่จึงกระตือรือร้นในการเร่งประกอบกริยาบุญ เพื่อผดุงธรรมให้เกิดสันติสุขในรัฐสีมา และมุ่งหมายให้ประสบความสุขในชาติหน้าเป็นสำคัญ ภายใต้ความอุปถัมภ์สูงสุดของกษัตริย์ผู้ทรงธรรมหรือธรรมราชาผู้ถือพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ในท่ามกลางกระแสความเชื่อเรื่องกลียุคที่กำลังดำเนินไปสู่ความเสื่อมถอยของสภาวะธรรมในสังคม กิจกรรมดังกล่าวจึงปรากฏสารัตถะในจารึกอันเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม โดยเฉพาะแนวความคิดเรื่องรัฐและกษัตริย์และแนวความคิดทางเวลา จึงปรากฏเป็นองค์ประกอบสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อสารัตถะจารึกสุโขทัย และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ร้อยรัดเชื่อมโยงให้สารัตถะจารึกสุโขทันสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามมีข้อควรยกเว้นว่าแนวความคิดสำคัญของสารัตถะจารึกพ่อขุนรามคำแหงโดยเฉพาะแนวความคิดเรื่องรัฐและกษัตริย์กับแนวความคิดทางเวลานั้นไม่อาจกลมกลืนได้สนิทกับแนวความคิดสำคัญของสารัตถะจารึกสุโขทัยในองค์รวม เพราะสารัตถะจารึกพ่อขุนรามคำแหง แสดงถึงศักยภาพในฐานะมนุษย์ของพ่อขุนรามคำแหงที่มุ่งประโยชน์เพื่อความสันติสุขและความเจริญก้าวหน้าของสังคม “ชีวิตนี้” อย่างชัดเจน โดยไม่ให้ความสำคัญกับ “โลกหน้า” แต่อย่างใด. The purpose of this thesis is to study the contents of the inscriptions of Sukhothai period during the Pra Ruang Dynasty and their internal links. First, the inscriptions were classified according to the nature of their contents, Then, the compositions of the contents were analysed meticulously. After that, the links between the analysed compositions of similar nature were studied. Lastly, the links between different compositions in all the inscriptions of Sukhothai period were looked into.
From the study, the inscriptions of Sukhothai period can be classified according to the nature of their contents into five categories :
1. Inscriptions eulogizing kings and dynasties and recording religious activities ;
2. Inscriptions recording only religious activities;
3. Inscriptions on oath-taking ;
4. An inscription of criminal law ;
5. Inscriptions on miscellaneous matters .
The compositions of the inscriptions of the abovementioned categories differ on the following points :
- Theme
- Structure
- Technique
- Owner
- Main concept
From the study, it is found that there are links between the contents of all the inscriptions in many respects, especially the concepts of state and kingship and the concept of time, which is based on Buddhist tradition derived from Sri Lanka, which is better known as Buddhism of Lankawong (Pali : Lankavamsa). These concepts intermingling with local beliefs influenced the ideology of the kings of Sukhothai period. Within the kingdom of Sukhothat, kings, members of the royal family, noble men as well as high-ranking monks were enthusiastic to perform meritorious acts in order to maintain religious traditions and peace in the kingdom. The purpose of performing meritorious acts was also for the happiness in the next life. The meritorious acts were highly encouraged and supported by the religious kings who were called Dhammaraja and who prepared themselves to be furture Buddhas in accordance with ideals followed by Bodhisattvas.
The belief that at that time the world was already in the Kali Yuga or the age of decline in moral values necessitated the meritorious acts to be included in the contents of the inscriptions so as to encourage the public to perform good deeds. The concepts of state and kingship and the concept of time appear to be the main compositions in the contents of the inscriptions of Sukhothai period. They also form the main compositions linking the contents of most inscriptions.
There is, however, an exception to the above conclusion, for the content of King Ram Kamhaeng inscription shows the ability of King Ram Kamhaeng the Great as a human being only in creating peace and prosperity in the society in the present, ignoring the next life.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537 Thesis (M.A. (Thai epigraphy)) -- Silpakorn University, 1994)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
125