คำวิเศษณ์สองพยางค์ในภาษาอีสาน

Other Title:
An analysis of disyllable modifiers in Northeastern Thai dialects
Author:
Subject:
Date:
1980
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค้นคว้าคำวิเศษณ์สองพยางค์ในภาษาอีสานเกี่ยวกับ โครงสร้าง การจัดประเภท ตำแหน่งหน้าที่ ความหมาย และการใช้คำวิเศษณ์สองพยางค์ การศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลในท้องถิ่น จากพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง และจากวรรณกรรมบางเรื่องของอีสาน โดยเลือกศึกษาข้อมูลที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหลัก คำที่ใช้ศึกษาประมาณ 799 คำ ซึ่งผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้
คำวิเศษณ์สองพยางค์มีโครงสร้างอยู่สองลักษณะ คือ ประเภทซ้ำทั้งคำ และประเภทซ้ำบางส่วน มีตำแหน่งอยู่หลังคำนามและหลังคำกริยา โดยทำหน้าที่ขยายคำข้างหน้าให้เด่นชัดขึ้น การแบ่งประเภทของคำวิเศษณ์สองพยางค์ตามความหมาย พบว่า คำเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้ 10 ประเภท กล่าวคือ ประเภทสื่อความหมายบอกอาการ ประเภทสื่อความหมายบอกลักษณะรูปร่าง ประเภทสื่อความหมายบอกรส ประเภทสื่อความหมายบอกกลิ่น ประเภทสื่อความหมายบอกเสียง ประเภทสื่อความหมายบอกสี ประเภทสื่อความหมายบอกสัณฐาน ประเภทสื่อความหมายบอกขนาด ประเภทสื่อความหมายบอกความแน่นอน และประเภทสื่อความหมายบอกปริมาณ นอกจากนั้นยังพบว่าคำวิเศษณ์สองพยางค์จะสื่อความหมายบอกขนาดใหญ่ เล็ก หรือปริมาณมาก น้อย ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเสียงสระในคำเหล่านั้น. This study aims at investigating into the nature of the disyllable modifiers in the northeastern dialect of Thai with emphases on their structure, classification, function, meaning and usage. The data used were drawn mainly from the dialect spoken in the province of Ubon collected by means of interviews with native speakers of the dialect and studies of Northeastern Dialect Standard Thai Dictionary and folk literatures of the region. The study examines 799 selected modifier.
The study reveals that there are two types of construction. In the first type, the second syllable of the modifier is the repetition of the first. In the second type, the phonological characteristics of the first syllable is partially repeated in the second syllable. These modifiers are used after nouns of verbs in a construction, functioning as modifiers of the preceding head words. As regards their semantic characteristics, these modifiers may be classified into ten categories indicating action, shape, taste, smell, sound, colour, form, size, certainty, and quantity. It has also been found that the modifiers indicating size and quantity show degrees of difference in meaning according to differences in vowel sounds.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2523 Thesis (M.A. (Thai epigraphy)) -- Silpakorn University, 1980)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
73