ผลกระทบของการพัฒนาภายหลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ.2547 ต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน บ้านเกาะเหลาหน้านอก จังหวัดระนอง

Other Title:
The impact of development after the 2004 Tsunami on th changing ethnic identity of the Moken's at Ban Kawlao-nakok, Ranong Province
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนบ้านเกาะเหลาหน้านอก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) และศึกษาแนวทางการพัฒนาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนภายหลังเหตุการณ์สึนามิปี พ.ศ. 2547 ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทาง
มานุษยวิทยาในการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดวาทกรรมการพัฒนาและความเป็นชาติพันธุ์เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยเก็บข้อมูลจาก 4 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มมอแกนบ้านเกาะเหลาหน้านอก หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดระนอง องค์กรภาคเอกชนที่ทำงานในพื้นที่เกาะเหลา และคนไทยในเมืองระนอง
ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า การปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือและพัฒนากลุ่มชาวมอแกนของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนมีทั้งที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาระงานรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานองค์กร ซึ่งได้สร้างชุดวาทกรรมการพัฒนาขึ้นมาในลักษณะของ “วาทกรรมในการพยายามควบคุมชีวิตชาวมอแกน” แบบครบวงจร โดยก่อนสึนามิภาครัฐได้ช่วยเหลือเพื่อหลักมนุษยธรรมเป็นหลัก ต่อมาหลังเหตุการณ์สึนามิได้มีแรงผลักทางนโยบานมากขึ้นก็พยายามสร้างความเป็นพวกเดียวกันด้วยนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนได้สร้างความชอบธรรมใน “ความเป็นอื่น” ต่อชาวมอแกน มีการเน้นย้ำอัตลักษณ์ความเป็นมอแกนด้วยภาพลักษณ์ของชนด้อยพัฒนา ขาดโอกาสทางสังคม ซึ่งชาวมอแกนได้สวมอัตลักษณ์นี้มาตั้งแต่อดีตกาล และยิ่งยอมรับและรู้สึกด้อยกว่าในระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับบุคคลภายนอก
อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์หลังสึนามิทำให้ชาวมอแกนกลับรู้สึกมีสิทธิมีเสียงและกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยมีสิทธิที่จะเลือกรับหรือไม่รับชุดวาทกรรมการพัฒนาเหล่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งใหม่ที่เข้ามามีความหมายกับตนเองมากน้อยเพียงใด ซึ่งส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของชาวมอแกนในแต่ละช่วงวัย อันมีผลต่อระบบคิดและสำนึกในการมองตนเองของชาวมอแกนด้วย This thesis aims to study history of the Mokens and impacts of development after Tsunami 2004 from governmental and private organizations on change of the Mokens identity at Ban Kawlao-Nanok, Ranong province. Research methodology is an anthropological approach. This study also applied theories, Discourse of Development and Ethnicity, as concept for analysis in four aspects of social relations : the Mokens at Ban Kawlao-Nanok, the governmental organizations in Ranong province, the private organizations to practice at Ban Kawlao-Nanok, and Thais in Ranong town.
This study found that the development of governmental and private organizations had similarity and difference in some aspects depending on their responsibilities. These organizations constructed totally discourse of development to control the Mokens life. Before Tsunami 2004, the governmental organizations implemented the Mokens on the human right, and then after the Tsunami 2004, they implemented on socio-cultural revitalization of the Mokens and assimilation them into Thai state. In the same ways, the private organizations tried to label the Mokens as the otherness by considering them as under-developing people and lack of social opportunities.
After the Tsunami 2004, however, the Mokens have concerned on their right and dignity. Besides, they have right to decision set of discourses of development depending on their meanings. This situation brings about adaptation of the Mokens identities of each age, relating to thinking system and self-awareness.
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
244
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ความเป็นไปได้ในการลงทุนที่พักแบบระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติวัยหลังเกษียณในจังหวัดระนอง
Collection: Theses (Master's degree) - Business Administration / วิทยานิพนธ์ – บริหารธุรกิจType: Thesisรจิต คงหาญ; Rajit Khongharn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
เครื่องประดับที่พบในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองและบริเวณใกล้เคียงในจังหวัดระนอง
Collection: Theses (Master's degree) - Historical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์Type: Thesisนฤมล กางเกตุ; Narumol Kangked (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษารูปแบบ ที่มา แหล่งผลิตเครื่องประดับโบราณและบทบาทความสำคัญแหล่งโบราณคดีภูเขาทองและแหล่งโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งการศึกษาการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแหล่งโบราณภูเขาทอง ... -
การศึกษาภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ของประเทศไทย
Collection: Theses (Master's degree) - Historical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์Type: Thesisปิลันธน์ ไทยสรวง; Pilan Thaisuang (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลในภาคใต้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 ของประเทศไทย โดยเน้นศึกษารูปแบบ ลวดลาย และเนื้อดินของภาชนะดินเผาในแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง ...