ชุมชนจัดตั้ง : ปัญหาของการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other Title:
Planned resettlement community : problems of social and cultural adaptation of Satitwalailakpattana Community Thasala District, Nakhon Si Thammarat Province
Author:
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐในการให้มีชุมชนจัดตั้ง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมซึ่งทำให้เกิดปัญหาในชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนาและกระบวนการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา
วิธีการศึกษาใช้วิธีศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา การสัมภาษณ์ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการจัดตั้งชุมชนสาธิตวลักลักษณ์พัฒนา การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมสังเกตการณ์ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีของชาวบ้านในชุมชนสาธิตวลักลักษณ์พัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แนวคิดเรื่องการปรับตัวเพื่ออธิบายกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวบ้านและใช้แนวคิดการพัฒนาเชิงวัฒนธรรมชุมชนในการอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนสาธิตวลักลักษณ์พัฒนา
ผลการศึกษาพบว่า นโยบายและรูปแบบที่ใช้ในการจัดตั้งชุมชนของรัฐ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมในชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนาและส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นในชุมชน ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐในเรื่องสิทธิในที่ดิน ความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกินระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเป็นแบบเกษตรผสมผสาน การสร้างความร่วมมือในชุมชน ความล้มเหลวในการจัดการองค์กรในชุมชน ชาวบ้านมีกระบวนการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบวัฒนธรรมเดิมและลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะของคนใต้เป็นฐานคือ การผลิตทางการเกษตรแบบเดิมที่เน้นการพึ่งพาแรงงานจากญาติพี่น้อง ความเชื่อในพุทธศาสนาและผีบรรพบุรุษ การจัดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่อยู่บนฐานของความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติและการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและของกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวทางในการปรับตัวที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาชุมชนของรัฐ จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐในการจัดตั้งชุมชนได้ The objectives of this research were to examine problems resulted from government policies and measures for the establishment of a planned resettlement community, factors leading to changes in the community’s social structure, and the process of social and cultural adaptation involved in the villagers’ adjustment to these changes.
Documentary research and qualitative research techniques of in-dept interviews, and participant observation were employed in this study. Research data came from review of documents related to the establishment of Walailak University and Satitwalailakpattana Community, interviews with past and current government officials and university officers responsible for the establishment and administration of the Community, and from participant observation of the villagers’ livelihood and customary practices. The frame of analysis in this study was based on the two approaches of adaptation process and community culture development in order to explain changes in the villagers’ attitudes and behavior and current problems in Satitwalailakpattana Community.
The study found that changes and problems in Satitwalailakpattana Community were the outcome of the government policies and approaches to the establishment of planned resettlement community. They led to conflicts between the villagers and the government on land right claims, and conflicts among different factions of the villagers. Other problems in the Community were negative impact of changes in agricultural production from traditional subsistent practice to mixed agriculture, lack of community cooperation, and problematic community management. The villagers had utilized traditional culture and unique social organization of the southern people such as strong kinship and local group networks for the protection of self and group interest, beliefs related to Buddhism and ancestor worship in their attempt to adjust to these problems. However, these measures, which were based on traditional community culture, could not effectively solve the problems resulted in the establishment of this Community because they were incompatible with the government’s existing policies and approaches to community development.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
139