เรือนจำ : สถาบันเพื่อการแก้ไขผู้กระทำผิด? กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดนครพน

Other Title:
Prison : institute for the correction? case study of Nakhon Phanom
Author:
Subject:
Date:
1989
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาว่า เรือนจำสามารถให้การอบรมฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องขังได้เพียงใด ทำการศึกษาที่เรือนจำจังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า
การให้การศึกษาวิชาสามัญ ระดับ 2-3 นั้น ยังไม่สามารถชักจูงให้ผู้ต้องขังมาเข้ารับการศึกษาได้เต็มที่และทั่วถึง มีผู้ต้องขังจำนวนน้อยที่สนใจเข้ารับการศึกษา ด้านการศึกษาวิชาชีพ เรือนจำไม่ได้จัดให้มีการศึกษาวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังอย่างมีแบบแผน มีแต่การใช้ผู้ต้องขังทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้ผู้ต้องขังมีความชำนาญในงานฝีมือนั้น ๆ
การอบรมทางด้านจิตใจ มีการอบรมทางด้านศีลธรรม โดยพระภิกษุแก่ผู้ต้องขังเกือบทุกอาทิตย์ แต่การสอนธรรมศึกษาผู้ต้องขังส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจ ส่วนการอบรมจิตตภาวนา ปัจจุบันเรือนจำไม่ได้ปฏิบัติ
การให้สวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขัง ควรมีการปรับปรุงด้านการรักษาพยาบาลและการให้การสงเคราะห์ครอบครัวของผู้ต้องขังที่เดือดร้อน
การเสริมสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ต้องขังกับครอบครัวและญาติพี่น้อง โดยให้ผู้ต้องขังได้รับการเยี่ยมเยียนจากครอบครัวและญาติพี่น้องนั้น เรือนจำได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยอนุญาตให้เยี่ยมได้สัปดาห์ละ 3 วัน
การเตรียมตัว เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมภายนอกก่อนพ้นโทษ โดยการลดวันต้องโทษจำคุก การพักการลงโทษ และการคุมประพฤตินั้น เรือนจำปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
แต่ทั้งหมดนี้ทัศนคติของเจ้าพนักงานและพฤติกรรมของผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การอบรมฟื้นฟูแก้ไขผู้ต้องขังไม่ได้ผลเท่าที่ควร This research propose to investigate the effectiveness of the prison’s rehabilitation programs. The research is conducted at Nakhon Phanom prison. The methods employed in data gathering in this research are interviewing, participant – observation, questionnaire survey as well as the use of relevant literatures.
The educational programs provided are divided into two fields the formal and vocational education. There are little interest in formal education among the inmates as few inmate participated in the program. The vocational training curriculum is not systematically planed, the prisoners only obtained experiences through working as ordered by staff.
The religious programs provided moral lessons by the priest almost every week, but did not attract much attention from the inmates. The meditation program was no longer practiced.
From this study, it is found that much improvement is needed in the welfare and health service programs for inmates.
The prison encourages good relationship between the inmates and their relatives outside the prison by allowing three days visiting per week by the relatives.
The prison provides preparation for inmates’ gradual adaptation to the outside world by good-time allowance system where well-behaved inmates were released undersupervision for a period of time every month until the terminats of their term for sentence.
Lastly, the rehabilitation programs were not very successful, the major obstruction are the attitudes of the staff and the behavior of the prisoners.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
57