นัยทางสังคมของพิธีโนราโรงครู : กรณีศึกษาบ้านบ่อแดง

Other Title:
Social implications of Nora Rongkru : a community study in Ban Bodaeng
Author:
Subject:
Date:
1999
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยเรื่อง “นัยทางสังคมของพิธีโนราโรงครู : กรณีศึกษาบ้านบ่อแดง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและอิทธิพลของพิธีโนราโรงครูที่มีต่อสังคมและผู้คนบ้านบ่อแดงและภาพสะท้อนทางสังคมวัฒนธรรมจากพิธีกรรมโนราโรงครู โดยใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (intensive interview) ผลจาการวิจัยพบว่าโนราโรงครูเป็นพิธีกรรมที่ส่งเสริมระบบความเชื่อเรื่องตายาย ซึ่งเป็นการนับถือบรรพบุรุษของชาวถิ่นใต้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมถิ่นใต้ว่าเป็นสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับธรรมชาติ นับถือผีบรรพบุรุษ (Ancestor Worship) โดยมีเพศหญิงเป็นศูนย์กลาง (Matrifocality) เป็นสังคมอิสระห่างไกลจากกลไกของรัฐและการปกครองจึงหยิบจับปรับใช้ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในทางท้องถิ่นนิยา (Locality)
พิธีกรรมโนราโรงครูสามารถรักษาหมู่พวกท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการเข้ามาของผู้คนต่างวัฒนธรรม เพื่อยึดโยงให้ผู้คนสามารถปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีคนกลุ่มอื่นสัญจรผ่านมาได้โดยง่าย และเป็นสังคมที่ห่างไกลจากกลไกของรัฐ
พิธีโนราโรงครูว่าเป็นสังคมที่ปกครองตนเองโดยระบบ “ย่านเครือเชื้อวงศ์” คือให้ปัจเจกชนติดอยู่กับครอบครัว แล้วให้ครอบครัวผูกติดกับ “ตายาย” อันเป็นเครือข่ายทางสายเลือดที่สืบเนื่องกันได้ โดยความสืบเนื่องในเชิงนามธรรมให้ตายายของแต่ละสายเชื่อมโยงต่อเนื่องกันในทางอุดมคติของวัฒนธรรมโนราในนามของ “ตายายโนรา” ดังนั้นผู้คนในวัฒนธรรมโนราจึงถือเป็นพวกเดียวกันหมดในทางอุดมคติ The purpose of this study were to demonstrate how Nora Rongkru, a local ritual of ancestor worship by the natives of Southern Thailand, influenced the society of villages that perform it, and to analyze the functions and roles of the ritual. Ban Bodaeng, the selected community, represented villages around Songkla lagoon. This research was conducted through participant observations and intensive interviews from 1994 – 1999.
The results of the study indicated that Nora Rongkru reflected an isolated society of Ban Bodaeng, inhabited by various groups of people ; fishermen, farmers, Buddhists, Muslims, who conduct ancestor worship matrifocally called Ta – Yai. Ta – Yai , a belief system, has been empowered by the ritual of Nora Rongkru, locally developed to serve the particular social purposes.
The ritual was developed to protect the peaceful existence of the community against saction and matrilocality. As a result, Nora Rongkru has two main functions in the community : social control and conflict control. Under social control, each kinship is united among others, all of which coexist in the same community peacfully. Under conflict control, family conflicts could be balanced by Ta – Yai belief system.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 1999)
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
138