เงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวเขาเผ่าอีก้อ : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Other Title:
The adoption of agricultural innovation among the Akha : a case study of Ban Saenchareonmai Chiang Rai Province
Subject:
Date:
1989
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
A Thesis on The Adoption of Agricultural Innovation among the Akha : A
Case Study of Ban Saenchareonmai Chiang Rai Province
The thesis studies the culture of the hilltribe community in all aspects
based on the framework of structural and functional theorists. According to them
the various structures of the entire society are closely related to their functions.
Any change in one part of the structures would have affected all other parts. The
objective of this study is to identify all the cultural variables influencing the
acceptance of new agricultural production techniques by the Akha.
The study finds all the variables to be related and have significant
influence on the acceptance of new agricultural techniques, for examples price
production, period of Production, mode of production, limitation of labour
relatives, official leadership role, role of the committee of the elders,
consumption behaviors ability to understand Thai language, social status of
individual, supernatural beliefs, taboos, traditional behaviors, as well as type of
plant, fertilizer and cultivating techniques. In addition the acceptance level
associated with some other variables such as role of change agents, imitating
and trial experimenting, etc.
However, in case of forced change or unwilling acceptance the Akha tend
to be adapting and selecting only changes which they consider appropriate to
their traditional cultural values. For example, they would make trial cultivation of
a small amount at first. In conclusion, to introduce new ideas to the Akha it is
necessary to take into account all the cultural variables and to ensure that the
new ideas are truly consistent with the need of the community. วิทยานิพนธ์เรื่อง "เงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับสิ่งใหม่ของชาวเขา
เผ่าอีก้อ บ้านแสนเจริญใหม่ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" นี้ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมของ
ชุมชนแบบครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ตามแนวคิดของกลุ่มนักทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่
ที่เห็นว่าโครงสร้างต่าง ๆของสังคมทั้งหมด มีความผูกพันกันในทางการหน้าที่อย่างสอดคล้องต่อ
กัน ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง ในส่วนใดก็ตามย่อมจะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ด้วย โดยมีจุด
ประสงค์ของการวิจัยที่สำคัญคือ ต้องการทราบเงื่อนไขทางวัฒนธรรมในทุก ๆ ด้านที่มีอิทธิพล
ต่อการยอมรับสิ่งใหม่ทางการเกษตรของชาวอีก้อ
ผลของการศึกษาพบว่า ทุกเงื่อนไขมีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อกันและมีอิทธิพลต่อการ
ยอมรับสิ่งใหม่ทางการเกษตรทุกเงื่อนไข อาทิเช่น ราคาของผลผลิต ระยะเวลาของการผลิต
ความเคยชินในวิถีการผลิต ข้อจำกัดของแรงงานภายในครัวเรือนและครอบครัว ความร่วมมือ
กันระหว่างเครือญาติ บทบาทของผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ บทบาทของคณะกรรมการผู้เฒ่าผู้แก่
ความเคยชินในการอุปโภคและบริโภค ความสามารถในการเข้าใจภาษาไทย โอกาสในการติด
ต่อกับเจ้าหน้าที่หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง สถานภาพทางสังคมของบุคคล ความเชื่อในเรื่องโชค
ลาง ข้อห้ามข้อนิยมต่าง ๆ พฤติกรรมตามประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนในเรื่องของชนิดของพืช ปุ๋ย
และเทคนิคต่าง ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกอาทิเช่น บทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง การ
เลียนแบบ และการทดลองปฏิบัติ เหล่านี้เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เป็นการจำยอมหรือบังคับ
เปลี่ยนพบว่า อีก้อมีการปรับตัวและเลือกรับเฉพาะ ในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสมและไม่ก่อให้
เกิดปัญหาต่อวัฒนธรรมเดิมของตน อาทิ การทดลองปลูกและใช้จำนวนน้อย ๆ ก่อน เป็นต้น
สรุปแล้วการที่จะให้อีก้อยอมรับสิ่งใหม่ใด ๆ ก็แล้วแต่ ควรคำนึงถึงวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ทุก
ด้านและควรจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
32