• English
    • ไทย
  • นักวิชาการ มศก.
  • วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มศก.
  • DSpace บัณฑิตวิทยาลัย
  • Questionnaire
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ

ค้นหาขั้นสูง

ค้นหาขั้นสูง
ดูชิ้นงาน 
  •   หน้าแรก
  • Faculty of Archaeology
  • Department of Anthropology
  • Theses (Master's degree) - Anthropology / วิทยานิพนธ์ - มานุษยวิทยา
  • ดูชิ้นงาน
  •   หน้าแรก
  • Faculty of Archaeology
  • Department of Anthropology
  • Theses (Master's degree) - Anthropology / วิทยานิพนธ์ - มานุษยวิทยา
  • ดูชิ้นงาน
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ค้นดู

ทั้งหมดในคลังข้อมูลชุมชนและผลงานทางวิชาการวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญประเภทผลงานคอลเล็คชั่นนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญประเภทผลงาน

บัญชีผู้ใช้

เข้าสู่ระบบ

สถิติสำคัญ

คำค้นสูงสุดในช่วงเวลา

การสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของเรือนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านหนองขาม จังหวัดกาฬสินธุ์

Thumbnail
ชื่อเรื่องอื่น:
Continuity and change of the traditional house in Northeastern Thailand : a case study of Ban Nongkham, Kalasin
ผู้แต่ง:
สมชาย นิลอาธิ
Somchai Nil-a-thi
หัวเรื่อง:
เรือนไทย -- วิจัย
ครอบครัว -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
บ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
บ้านหนองขาม (กาฬสินธุ์)
ที่อยู่อาศัย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- วิจัย
วันที่:
1989
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของเรือนอีสาน โดยใช้บ้านหนองขาม กาฬสินธุ์ เป็นกรณีตัวอย่างในการศึกษา ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสังเกต สัมภาษณ์โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในชุมชนหมู่บ้านตามโอกาสต่าง ๆ ทั้งในยามปกติ เมื่อมีเทศกาลงานบุญประเพณีต่าง ๆ และช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพตามฤดูกาล ประกอบกับการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า มีการแยกครัวเรือนออกจากครอบครัวรวมในเรือนใหญ่ไปอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวด้วยการสร้างตูบต่อเล้าหรือเหย้าเป็นเอกเทศมีอิสระทางเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง โดยมีเป้าหมายหลักที่จะต้องสร้างเรือนใหญ่ของตนเองให้ได้ เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในครอบครัว และค่านิยมของสังคมที่จะบ่งบอกสถานภาพได้ แล้วจากนั้นก็จะมีครอบครัวใหม่แยกครัวเรือนออกไปอีกเป็นเหมือนวงจรเช่นนี้เรื่อยไป แม้ภายหลังจะมีการเปลี่ยนความปรารถนาอันสูงสุดจากเรือนใหญ่มาเป็น เรือนบังกะโลว์ เรือนกระเป๋า เรือนไทยใหญ่ และเรือนซาอุกันบ้าง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและสถานภาพในสังคมก็ตามแต่ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะรูปแบบของเรือนพักอาศัยเท่านั้น แต่โครงสร้างของเรือนพักอาศัยก็ยังคงดำรงอยู่ได้ เพราะยังสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยด้านต่าง ๆ ของโครงสร้างระบบครอบครัวได้ และยังมีความเชื่อหลายอย่างเป็นเครื่องตอกย้ำสนับสนุนให้มีการสืบทอดต่อไป
 
The purpose of this study was to trace tack and investigate the continuation and transformation of the traditional Northeastern house. Nongkham village, Kalasin province, was picked out as the case study. Based on the field work, the data were obtained by observation and interview. To do this, participation in the Community on various occasions, both the regular activities done for a living and dependent on certain seasons and the festivities mostly concerned with merit-making was necessary. In addition to Personal contact and eye-witnessing, a great deal of information was derived from related literature. The findings were as follows : The secession of nuclear families from their larger or stem family (Ruan Yai) really existed. They would dwell exclusively in a sort of house called “Toop-Taw-Lao” or “Yao”, and would rather be free to deal with their own economical affairs for the purpose of establishing Ruan Yai, a self-reliant household. Such an effort would, as a result, provide them with household utility, and also in the respect of social values, their social status would be indentified. Thereupon a new family would secede from this Ruan Yai again. This generative and cyclical feature would repeat itself again and again. Although their ultimate goal might later on be changed in some degree from the expectation of the Ruan Yai to a bungalow house (Ruan Bungalow) , a “pocket” house (Ruan Krapao) , a Thai Yai house (Ruan Thai Yai) , and a Saudi house (Ruan Saudi) due to the economical and social status consideration, it was only the form of the residence that changed ; its household structure, however, remained the same since their needs of household utility could be met in the structural aspect of the family system. A great many beliefs, moreover, enhanced the tendency to continue this tradition.
 
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532
 
Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 1989)
 
ประเภทผลงาน:
Thesis
สาขาวิชา:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
URI:
http://www.sure.su.ac.th:8080/xmlui/handle/123456789/1634
คอลเล็คชั่น:
  • Theses (Master's degree) - Anthropology / วิทยานิพนธ์ - มานุษยวิทยา [83]
จำนวนดาวน์โหลด:
42
ดู/เปิด
Abstract.pdf (161.9Kb)
fulltext.pdf (10.36Mb)
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม

Copyright  ©  2021 Silpakorn University Central Library All Rights Reserved.
ติดต่อเรา
Theme by 
Atmire NV
 

 


Copyright  ©  2021 Silpakorn University Central Library All Rights Reserved.
ติดต่อเรา
Theme by 
Atmire NV