การรับรู้ของชาวบ้านโคกที่มีต่อโครงการปลูกไม้ยืนต้น โดยวิธีการเกษตรธรรมชาติเพื่อการยังชีพแบบยั่งยืน

Other Title:
The perception of Ban Kok villagers towards the woody perennial project processing through an agro-ecological approach for a sustainable subsistence
Author:
Date:
1996
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการรับรู้ของชาวบ้านโคกที่มีต่อโครงการปลูกไม้ยืนต้นโดยวิธีการเกษตรธรรมชาติเพื่อการยังชีพแบบยั่งยืน โครงการนี้เป็นตัวอย่างแบบทดลองแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องความพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในชนบท โดยเฉพาะด้านการเกษตรกรรมโดยอาศัยหลักวิธีการทำงานแบบธรรมชาติเพื่อการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เนื่องจากปัจจุบันนี้แนวโน้มกระแสการตื่นตัวด้านการปรับเปลี่ยนแบบแผนระบบการผลิตทางเกษตรกรรมมีมากขึ้น เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและระบบนิเวศวิทยา อันเป็นผลจากแบบแผนการเกษตรกรรมแบบเคมีที่นิยมปฏิบัติส่วนใหญ่ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อหาเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ และการตัดสินใจของชาวบ้านในการเลือกทำตามและไม่ทำตามแบบโครงการฯ
วิธีการศึกษาของงานวิจัยนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วมทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งวิธีการเก็บข้อมูลเชิง Oral History ของเฉพาะกรณี นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับหลักการสหวิทยาการ โดยผสมผสานข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์นิเวศการเกษตร เข้ากับการเก็บข้อมูลในเชิงสังคมศาสตร์ตามหลักการศึกษาของวิชามานุษยวิทยา
ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาการรับรู้ของชาวบ้านโคก จากกลุ่มหลักสองกลุ่ม คือ เด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งมีพื้นฐานแตกต่างกัน ทั้งลักษณะกลุ่มวัย และประสบการณ์ รวมทั้งวิธีการเผยแพร่ข้อมูลของโครงการต่อกลุ่มทั้งสอง กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการอย่างมีแบบแผนมากกว่า ขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่เป็นกลุ่มซึ่งปล่อยให้เลือกรับทำตามหรือไม่ทำตามโครงการอย่างเป็นธรรมชาติ จากการศึกษากลุ่มเด็กที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการสัมพันธ์ตลอดช่วงกิจกรรมเข้าค่ายเด็ก 4 ครั้ง ด้วยการใช้วิธีการละครหุ่นมือ รูปแบบและวิธีการอื่น ๆ ของละครสร้างสรรค์ ผนวกกับเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยา และการสอดแทรกจริยธรรมให้เข้ากับสังคมวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งอย่างกลมกลืน ผลพบว่ากลุ่มชาวบ้านเด็กนี้มีพัฒนาการในเชิงบวก เช่น แสดงทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ต้นไม้ของชุมชน และเริ่มกิจกรรมปลูกต้นไม้ของตนเองบ้าง
สำหรับการศึกษากระบวนการรับรู้ของกลุ่มผู้ใหญ่ พบว่าในระดับความคิดโครงการเป็นภาพในอุดมคติที่ชาวบ้านอยากมี แต่ในทางปฏิบัติชาวบ้านไม่เลือกทำตามแบบทั้งหมด เพราะเหตุผลของเงื่อนไขปัจจัยความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องอย่างสัมพันธ์กัน ปัจจัยหลักที่เห็นร่วมกัน คือ ผลผลิตที่ได้จากการปลูกแต่เพียงไม้ยืนต้นนั้นช้า จะไม่สามารถทำให้อยู่รอดได้ เนื่องจากความต้องการผลผลิตเพื่อการขายเป็นหลัก การปลูกพืชล้มลุก เช่น ข้าว และพืชผักต่าง ๆ สามารถเก็บผลผลิตขาย และแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราได้เร็วกว่า ยิ่งกว่านั้นผลผลิตจากไม้ผลยืนต้นยังอาจต้องเสี่ยงในกระบวนการตลาด และปัจจัยการผลิตอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และขนาดพื้นที่ดิน และจากผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องในกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในอดีต ยังเป็นการตอกย้ำต่ออุปสรรคของการไม่เลือกทำตามโครงการฯ จากภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวบ้านในสังคมเกษตรกรรมในปัจจุบัน ที่ต้องถูกกำหนดด้วยระบบการผลิตแบบทุนนิยม ซึ่งโยงให้เห็นถึงพันธนาการด้านความคิด การปฏิบัติ และเวลาที่ต้องใช้กับการผลิตแบบการเกษตรกรรมที่มุ่งผลผลิตสูงสุดและเพื่อการค้าเป็นหลัก อีกทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากไม้ยืนต้นตามแนวคิดแบบโครงการ ก็ไม่ได้เป็นความจำเป็นระดับสูงสำหรับชาวบ้าน เพราะสามารถหาซื้อสินค้าทดแทนได้จากตลาด หรือจากสวนของกลุ่มเครือญาติมาแบ่งปันกันใช้บางเวลา The purpose of this research is to study the perception of Ban Kok villagers towards the Woody Perennial Project Processing through Agro-ecological Approach for a Sustainable Subsistence. This project is an experimented agricultural model, which developed as an alternative solution to economic problem. Since the extensive trend of Sustainable Development, inclusively agriculture, the alternative patterns of agricultural development have been taking into account as means to improve the economic and ecological problems, which effected from the chemical farming. The project model is as well one of those and believed that the practice of natural farming being able to manage resources wisely and sustainably. This research aims to study the perception process and decision making of the villagers in the way of following or not following the project model.
The methodologies selected for this research are the participated observation and interview both formally and informally, oral history for case studies, and interdisciplinary principle as for data integration of scientific, agro-ecological, and social aspects.
The findings of the study of the two major groups, children and adults, can be described that the perception process between the two are different due to the following factors: age group, experience and the process of information transmissions. The children participated in the activities with a more assigned pattern; meanwhile, the adults just freely exist. The former group showed their positive attitude towards tree conservation in the community and grew their own plants. Due to an effective management, such as the appropriated continuity of interaction process integrated with using puppet and other participatory techniques in the process of creative drama, children were transmitted knowledge of environmental and ecological conservation and as well as the moral congruently with their own socio-cultural conditions.
While the latter group wished ideally to possess a land as the project model. Practically, they did not follow exactly the same as the model, due to the economic factors i.e. yields, capital, time, land rights, and etc. They perceived that growing vegetables and rice would enable them to collect the products and exchange into cash quicker than growing the perennial. Moreover, in the marketing process, to sell the products such as fruits will be risky for them. Besides, other studies of the interactive process, of economic and socio-cultural from the past to nowsaday, reflected the present way of living determined by the capital economic system. The obligation of such system affected their notion, practice and time of their production, which concentrated on high production and marketing system. Additionally, the need of natural resource such as model possess was not strong enough to have them grow for their own benefit. It was more convenience to find things from the market than to make by themselves, or if need, they could ask for or share the resources among the kin.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (มานุษยวิทยา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539 Thesis (M.A. (Anthropology))--Silpakorn University, 1996)
Type:
Discipline:
สาขาวิชามานุษยวิทยา
Collections:
Total Download:
64