ศิลปะการสร้างหัวโขนยุครัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 9

Other Title:
Crafting Khon masks in the region of King Rama IX of the Rattanakosin Era
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบตลอดจนกรรมวิธีการสร้างงานหัวโขนในอดีตจนถึงสมัยรัชกาลที่ 9 หัวโขนในปัจจุบันนี้มีรูปแบบและกรรมวิธีที่สืบทอดกันมา โดยมีช่างหลายกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มช่างครูตาบทิพย์ แก้วดวงใหญ่
2. กลุ่มช่างอาจารย์วรวินัย หิรัญมาศ
3. กลุ่มช่างโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย)
จากกลุ่มช่างที่กล่าวมานี้เป็นกลุ่มช่างที่มีแนวทางการสร้างหัวโขนที่มีรูปแบบและกรรมวิธีการสร้างงานหัวโขนแบบโบราณ และยังคงมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง โดยศึกษาได้จากทรงใบหน้า การติดลวดลายกระจัง ลักษณะการเขียนสีบนใบหน้าและทรงยอดมงกุฎ โดยช่างแต่ละกลุ่มนั้นมีรูปแบบเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าช่างแต่ละกลุ่มที่กล่าวมานั้น จะยึดรูปแบบตามโบราณก็ตาม อีกทั้งด้านกรรมวิธีการสร้างหัวโขนยังคงรักษาขั้นตอนและกรรมวิธีการสร้างที่ได้รับความรู้มาจากครูบาอาจารย์ในอดีต แต่เนื่องด้วยวัสดุที่ใช้สร้างบางอย่างขาดหายไป ช่างทำหัวโขนจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสะดวกต่อการสร้างหัวโขนในปัจจุบัน
จากบริบทที่แตกต่างกันของช่างแต่ละกลุ่มที่มีแนวคิดการสร้างหัวโขนเป็นของตนเอง ตลอดจนมีการสร้างที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนไปจากอดีต พร้อมทั้งยังสามารถสร้างหัวโขนตามจารีตประเพณีและสร้างหัวโขนเชิงพาณิชย์ควบคู่กัน อันเป็นหลักฐานถึงการสร้างหัวโขนในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่ารูปแบบกรรมวิธีการสร้างใดบ้างที่มีการปรับเปลี่ยน เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจด้านงานช่างหัวโขนต่อไปในอนาคต This thesis studied the styles and crafting of Khon masks from earliest records until the reign of King Rama IX. Khon masks styles and craftsmanship have been inherited by groups led by
(a) Taapthip Keawdaungyai,
(b) Worawinai Hirunyamat and
(c) The Royal Craftsmanship School (man)
These three groups been kept alive Thai traditional concepts of Khon mask craftsmanship with unique styles. The concepts can be seen in varying face styles ; ways of decorating the Kajank ; face painting styles and tiaras. However, they have been inherited techniques learnt from their teacher in the past. Some materials for making Khon masks have been lost or become rare. So that present craftsmen substitute newer materials for the lost and rare ones for convenience in crafting new masks.
The different contexts of craftsmen groups which keep continued their making concepts and processes ; they adjust themselves timely to the changing of Thai society. They can create both Khon masks as traditional styles and commercial styles. It is an evidence of Khon masks making process in the reign of King Rama IX that, which styles and which making process are changed. The research is useful for any person who interested in Khon masks making process in future.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
543