จุนทีโพธิสัตว์ : พัฒนาการรูปแบบศิลปกรรม และประติมานวิทยา

Author:
Advisor:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบศิลปกรรม และพัฒนาการของพระโพธิสัตว์จุนที โดยศึกษาเริ่มตั้งแต่อินเดียที่เป็นจุดกาเนิด และศึกษาต่อมายังรูปแบบที่พบในทิเบต จีน และเวียดนาม เนื่องจากดินแดนดังกล่าวข้างต้นเป็นดินแดนที่จะส่งอิทธิพลทางด้านรูปแบบของพระโพธิสัตว์จุนทีให้กับไทย ในส่วนของประเทศไทยนั้นศึกษาจากลุ่มตัวอย่างจากสองช่วงเวลา คือ สมัยศรีวิชัย และรัตนโกสินทร์ โดยในสมัยรัตนโกสินทร์จะศึกษาจากตัวอย่างที่พบจากวัดจานวน 4 วัด แบ่งเป็นวัดจีนนิกาย 3 วัด ได้แก่ วัดบาเพ็ญจีนพรต วัดมังกรกมลาวาส และวัดจีนประชาสโมสร ส่วนของอนัมนิกายมีอีก 1 วัด คือ วัดสมณานัมบริหาร (วัดญวนสะพานขาว)
ในการศึกษาครั้งนี้ สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. พระโพธิสัตว์จุนทีมีต้นกาเนิดในอินเดีย โดยรูปแบบที่พบในอินเดียมีตั้งแต่ 4 กร จนถึง 6 กร ของถือค่อนข้างชัดเจน ประกอบด้วย บาตร ประคา ดอกบัว คัมภีร์ ส่วนมุทราหลัก คือ วรทมุทรา (ประทานพร) หรือ ธยานมุทรา (สมาธิ) นั่งบนดอกบัว รูปแบบตรงตามที่ถูกบรรยายไว้ในคัมภีร์สาธนมาลา และตรงกันกับประติมานวิทยาที่พบในทิเบตและราชวงศ์หยวน นอกจากนั้นยังมีรูปแบบตรงกันกับพระโพธิสัตว์จุนทีที่พบในสมัยศรีวิชัยด้วย
2. พระโพธิสัตว์จุนทีที่ปรากฏในจีน ปรากฏเป็นความเชื่อตั้งแต่ราชวงศ์ถัง แต่พบเป็นงานศิลปกรรมอย่างเด่นชัดในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง รูปแบบที่พบไม่ตรงกันกับอินเดียและไม่ตรงตามสาธนมาลา โดยมีรูปลักษณ์ดังนี้ มี 16 กร มุทราหลักคือโพธยาครีมุทรา สวมหมวกพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ มีของถือในพระหัตถ์ เช่น ประคา ฉัตร ดาบ ขอสับ ธนู วัชระ กระดิ่ง คัมภีร์ เป็นต้น รูปแบบดังกล่าวไม่ตรงกับประติมานของพระโพธิสัตว์จุนทีของอินเดียแต่ไปตรงกับประติมานวิทยาของนางปรัชญาปรมิตาแทน ทังนี้เชื่อว่าคงเป็นการหยิบยืมรูปแบบมาใช้แต่ไม่ได้นาความเชื่อมาด้วย รูปแบบดังกล่าวข้างต้นนี้ของจีนจะเป็นต้นแบบให้กับเวียดนามและไทยด้วย ซึ่งแม้ในเวียดนามและไทยจะปรากฏอิทธิพลของจีนอย่างเด่นชัดแต่ก็ถูกลดทอนรายละเอียดไปมาก เช่น ไม่มีของถือ สวมผ้าคลุมพระเกศาแบบกวนอิม จานวนกรบางครั้งมี 10 12 กร ก็มี แสดงให้เห็นถึงความปะปนกันระหว่างพระจุนทีและกวนอิมที่ปรากฏทั้งในเวียดนามและไทย
3. พระโพธิสัตว์จุนทีในไทยอย่างที่กล่าวว่ามีความคลุมเครือทางด้านประติมานวิทยา ส่วนหนึ่งเชื่อว่าคงเพราะเป็นฝีมือของช่างท้องถิ่น ซึ่งช่างเหล่านั้นอาจไม่เคยเห็นงานของจีนแบบประติมานวิทยาครบถ้วนมาก่อน หรือช่างเหล่านั้นอาจเป็นชาวญวนด้วยเนื่องจากวัดแรก ๆ ที่พบอย่างวัดบาเพ็ญจีนพรตและวัดมังกรกมาลาวาส ทั้ง 2 วัดนี้ก็ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชนชาวญวนด้วยเช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าการที่พบพระโพธิสัตว์จุนทีแต่แต่งกายแบบกวนอิม หรือการลดทอนของถือและจานวนมืออย่างมากเป็นสิ่งที่ได้รับสืบทอดมาจาดเวียดนาม อย่างไรก็ตามพระโพธิสัตว์จุนทีที่วัดจีนประชาสโมสร และวัดญวนสะพานขาว กลับมีประติมานวิทยาตรงตามของจีนทุกประการ ทั้งนี้เป็นเพราะวัดจีนประชาสโมสรนาเข้าองค์พระจากจีนโดยตรง ส่วนวัดญวนสะพานขาวไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ที่ช่างที่ทาคงเคยเห็นของจากจีนมาแล้ว หรืออาจเป็นของนาเข้าเช่นกัน
4. ตำแหน่งที่ตั้งของพระโพธิสัตว์จุนทีทั้งในวัดจีนนิกายและอนัมนิกายจะพบอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ หน้าพระประธานและวิหารกวนอิม ตำแหน่งหน้าพระประธานเชื่อว่าสัมพันธ์กับความเป็นพุทธมารดา หรืออาจสัมพันธ์กับความเชื่อในการบูชาพระโพธิสัตว์จุนทีที่จะต้องภาวนาจนท่านมาปรากฏตรงหน้า หรืออาจจะพัฒนามาจากตำแหน่งดั้งเดิมในการบูชาที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังและซ่งที่มักวางกระจกบูชาพระจุนทีไว้ที่ด้านหน้าแท่นบูชา ส่วนตำแหน่งที่วิหารกวนอิมเชื่อว่าเป็นเพราะความเชื่อที่พระโพธิสัตว์จุนถูกผนวกให้เป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์กวนอิมในฐานะพุทธมารดา
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
328