ลวดลายผ้านุ่งนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด : ที่มาและรูปแบบ

Other Title:
The study of Apsara's textile at Angkor Wat
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษารวบรวมลวดลายและรูปแบบของผ้านุ่งนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด โดยจัดกลุ่มและแบ่งประเภทของรูปแบบผ้านุ่งรวมทั้งศึกษาลวดลายจากโครงสร้างของผ้านุ่ง เนื่องจากผ้านุ่งสมัยนครวัด เป็นสมัยแรกที่ปรากฏลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกไม้ ลาตารางบนผ้านุ่ง และลายเลขาคณิตต่าง ๆ ตลอดจนรูปแบบการนุ่งที่แตกต่างจากศิลปะก่อนหน้าและนำข้อมูลที่ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์ถึงที่มาของรูปแบบและบริบททางสังคมสมัยนครวัด
ผลการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบและลวดลายของผ้านุ่งนางอัปสราที่ปราสาทนครวัดมีความแตกต่างจากศิลปะก่อนหน้า เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากต่างชาติ คือ อินเดียและจีน อันสะท้อนถึงความสัมพันธ์กับต่างชาติในสมัยนครวัดที่มีผลต่อการแต่งกายของประชาชนในอาณาจักร และรูปแบบดังกล่าวได้ส่งต่อไปยังศิลปะสมัยหลัง เช่น ศิลปะแบบบายน แสดงถึงความนิยมด้านรูปแบบและลวดลายของผ้านุ่งที่ยังคงสืบเนื่อง ทั้งยังแสดงถึงวิธีชีวิต การแต่งกาย ระบบชนชั้นของสังคมเขมรสมัยนครวัด ผ่านทางรูปแบบและลวดลายผ้านุ่งนางอัปสรา เนื่องจาก ผ้าสะท้อนถึงชีวิตและทุกชีวิตผูกพันกับผ้าตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตาย ดังนั้น การศึกษาเรื่องบริบททางสังคม วิธีชีวิต และความเชื่อ จึงสามารถศึกษาได้จากผืนผ้า ลวดลายและรูปแบบ This thesis is aimed to study of Apsara’s textile at Angkor Wat. The evolution of costume and accessories of Apsara bas-relief had changed from many factors until the Art of Angkor Wat. Apsara garments at Angkor Wat are decorating with small flower patterns and square patterns. More importantly, these patterns never appear in any previous eras until the art of Angkor Wat. Perhaps, the patterns of small flowers are related to the brocade textile which is so popular in this period.
Varieties of Apsara’s skirt patterns are from creativity of the sculptors, by using motif design in a good combination to become unique splendor of Angkor Wat art.
The results of this research are : The differences between Apsara’s skirts of Angkor Wat may be attributed to the diffusion of India and China influences, which reflected the relationship between the royal court of King Suryavarman II and those foreign countries. Nevertheless, Apsaras’s skirts also reflect the fashion of female dresses in each era.
On the other hands, the differences between each Apsara styles reflect unequal hierarchy among of Apsaras and reflect the division of social classes during the era of King Suryavarman II.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
470