รูปแบบและลวดลายเครื่องประดับทองคำจากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา

Other Title:
Form and pattern design of the goldenornaments from the crypt of main prang, Wat Ratchaburana, Ayutthaya
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลวดลายเครื่องประดับทองคำ จากกรุปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับลวดลายจากศิลปะใกล้เคียงที่ร่วมสมัยกันในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ศิลปะอยุธยาตอนต้นถึงตอนกลางในระยะแรก ศิลปะสุโขทัย ศิลปะจีน ศิลปะเปอร์เซีย
จากการศึกษาพบว่ารูปแบบและลวดลายเครื่องประดับทองคำจากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะนั้น มีการใช้ลายไทยพื้นฐาน ลายดอกไม้ประดิษฐ์ และรูปร่างเรขาคณิต ในการออกแบบและลวดลายเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากรูปแบบลวดลายในศิลปะอยุธยาตอนต้นถึงตอนกลางในระยะแรก ศิลปะสุโขทัย ศิลปะจีน ศิลปะเปอร์เซียหรืออิสลาม โดยช่างได้แรงบนดาลใจจากลวดลายที่พบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม เครื่องทอง เครื่องประดับทองคำ และเครื่องใช้ประจำวัน อาทิ ภาชนะ หรือ พรม เป็นต้น ซึ่งช่างได้นำลวดลายดังกล่าวมาผสมผสานดัดแปลงจนกลายเป็นรูปแบบที่พบในเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ ซึ่งลวดลายเหล่านั้นเป็นผลมาจากการติดต่อกับอาณาจักรอื่น ๆ ในแง่ของความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการค้าขายนั้นเป็นทำให้เกิดการส่งผ่าน ทั้งนี้เครื่องประดับดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับสำหรับชนชั้นปกครอง This research is to study about from and pattern design of the golden ornaments found from the crypt of main prang, Wat Ratchaburana Ayutthaya and compare with the pattern design found from the period of 1400 A.D. to the first quarter of 1900 A.D. such as Sukhothai Art, pre-Ayutthaya Art, Chinese Art and Persia Art.
The study found that form and the pattern design of the golden ornaments found used the basic Thai pattern design, the artificial flower and the pattern of geometric design to compose the pattern design. The design mentioned got influent from Sukhothai Art, Pre-Ayutthaya art, Chinese Art and Persia Art as artists have seen from painting, sculpture, golden ornaments and daily products used such as chinaware or carpet. Then, artist composed those pattern design mentioned to be their own in the golden ornament found in the crypt of main prang Wat Ratchaburana. The neighboring arts came in this to the kingdom by the political relationship and commercial relationship. Also, the golden ornaments found in the main crypt of main prang used as the decoration and ornaments for the king, member of the royal family as well as the governor.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1525
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาศิลปกรรมของวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisวาริน สุขเอี่ยม (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)จากการศึกษาศิลปกรรมที่มีอยู่ภายในวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดขนาดเล็กที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือ และไม่มีประวัติว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใดหรือใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงข้อมูลสันนิษฐานที่ใช้บอกเล่ ... -
ตลาดกับวิถีชีวิตชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2199-2310
Collection: Theses (Master's degree) - Historical Studies / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์ศึกษาType: Thesisเพชรรุ่ง เทียนปิ๋วโรจน์; Petchrung Teanpewroj (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009) -
จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้นในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisสิรินุช เรืองชีวิน; Sirinuch Ruangchewin (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006)การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแบบอย่างและรูปแบบลักษณะของงานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจิตรกรรมที่อยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20 โดยการสำรวจและเก็บข้อมูล ...