มหรสพและการละเล่นในงานพระเมรุ จากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 1-5

Other Title:
Traditional entertainments for the Royal Cremation ceremony from the mural paintings of the reign of King Rama I-V
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจัดประเภทของมหรสพและการละเล่นที่ปรากฏ 2) ศึกษาวิถีชีวิตของผู้คนและสภาพสังคม วัฒนธรรมที่ได้ถ่ายทอดไว้ในจิตรกรรมฝาผนังในกรณีที่สัมพันธ์กับมหรสพและการละเล่นที่ปรากฏในงานประเมรุ โดยใช้การตรวจสอบเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง รวมถึงภาพถ่าย ทั้งนี้ขอบเขตของการศึกษาจำกัดเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังกำหนดอายุสมัยระหว่างรัชกาลที่ 1-5 และศึกษาภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น โดยผู้วิจัยศึกษาจิตรกรรมฝาผนังจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 วัด ที่มีคุณสมบัติตรงกับขอบเขตการศึกษา คือ 1) วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร 2) วัดทองธรรมชาติวรวิหาร 3) วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร และ 4) วัดอ่างแก้ว
ผลการวิจัยพบว่า จิตรกรรมฝาผนังฉากมหรสพและการละเล่นในงานพระเมรุจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 1-5 จะปรากฏในฉากพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยพยายามที่จะถ่ายทอดเนื้อหาตามที่ปรากฏจากพุทธประวัติ ตอนปรินิพพาน ที่ได้มีการทำการสักการบูชาด้วยการฟ้อนรำขัยร้องประโคมดนตรี รูปแบบของมหรสพและการละล่นที่พบจากภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นการนำเอารูปแบบและประเภทของมหรสพและการละเล่นในงานพระเมรุที่จัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1-5 ไปเป็นข้อมูลในการถ่ายทอดออกมาเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง จึงส่งผลให้จิตรกรรมฝาผนังได้กลายเป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า ทำให้สามารถใช้เป็นข้อมูลที่จะศึกษาเรื่องราว ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านมหรสพและการละเล่นในอดีตได้ โดยนับว่าเป็นบันทึกหลักฐานทางวัฒนธรรมอีกประเภทหนึ่งในลักษณะเดียวกับหลักฐานที่เป็นเอกสารและภาพถ่าย ซึ่งส่งผลให้เกิดผลสรุปจากการศึกษาถึงมหรสพและการละเล่นในงานพระเมรุที่ปรากฏจากหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 1-5 ดังนี้ 1) เป็นเครื่องสะท้อนสภาพแวดล้อมทางสังคม 2) เป็นสิ่งที่แสดงถึงระดับฐานันดรศักดิ์ และ 3) เป็นสิ่งสะท้อนความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์อื่น This research is to 1) Studied and categorized the entertainments shown in the royal cremation ceremony scenery in the mural painting from the reign of King Rama I – King Rama V 2) Studied about sociology anthropology and life style of the people in that period related with the entertainments shown in the royal cremation ceremony mural painting. The accordance of this studied will be checked with the documentary and photograpy. The Scope of the studied limited from four of the temple (or “Wat”) in the Bangkok Area during the Reign of King Rama 1-5; Wat Ratchasittharam Ratchaworawiharn, Wat Thongthammachart Worawiharn, Wat Arunratchawararam Ratchaworamahawiharn and Wat Ang Keaw.
From the studied found that the scenery of the entertainments shown in the royal cremation ceremony from mural painting during the reign of King Rama I-Rama V always appeared in the scene of Buddha cremation ceremony. The pattern and style of the entertainments shown in the mural painting came from the entertainments shown in the reign of King Rama I-King Rama V and became the evidence for social studied what happen in that period. Also, the entertainment shown in the mural painting was the agnomen for the social status in Thai culture. Moreover, the entertainments shown is the mural painting is the prove of relationship ethnic identity and other nations.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
336