งานบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์โดยครูบาศรีวิชัยในจังหวัดเชียงใหม่

Other Title:
The stupa constructed by Kru Ba Sriwichai over the old stupa in Chiang Mai Province
Author:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษางานบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์โดยครูบาศรีวิชัยในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้จะทำการวิเคราะห์เจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัย จากกลุ่มตัวอย่างเจดีย์ ประมาณ 11 องค์ ที่กระจายตัวอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครูบาศรีวิชัยได้เป็นผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์จากชาวล้านนา ที่มีความเลื่อมใสและศรัทธาครูบาศรีวิชัย เนื่องจากครูบาศรีวิชัยเป็นผู้เคร่งครัดในการรักษาศีลและละเว้นจากการฉันท์เนื้อสัตว์ ดังนั้นครูบาศรีวิชัยจึงได้กลายเป็นผู้นำในขบวนการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานที่มีความสำคัญทั่วดินแดนล้านนา
นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบเจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัยในจังหวัดเชียงใหม่ กับต้นแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา (พระธาตุหริภุญชัย) ซึ่งถือว่าเป็นเจดีย์ต้นแบบทรงระฆังแบบล้านนาที่มีความสวยงามและลงตัวมากที่สุด ว่ามีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร
การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าเจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัย จะมีรูปแบบเฉพาะที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของครูบาศรีวิชัยได้อย่างชัดเจน คือ ส่วนฐานที่มีการยึดท้องไม้ให้สูงขึ้น จึงทำให้ส่วนฐานของเจดีย์สูงเพรียวมากยิ่งขึ้น และในส่วนของชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังที่มีการประดับด้วยลูกแก้วอกไก่ จำนวน 1 หรือ 2 เส้น ซึ่งรูปแบบไม่เป็นไปตามต้นแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ประกอบกับองค์ระฆังเจดีย์ที่มีขนาดเล็ก จึงแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ในงานบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัยอย่างชัดเจน และถึงแม้ว่าเจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัยนั้น จะมีรูปแบบไม่ตรงตามต้นแบบเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ดังปรากฏที่วัดพระธาตุหริภุญชัย แต่ลักษณะดังกล่าวก็ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในงานบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ของครูบาศรีวิชัย This independent study is aim to study the form of bell shape stupa which it reconstructed and renovated by Kru ba sriwichai. The requirement of an analyzing is : What’s the stupa form look like?, study from the exampling of 11 stupas which it’s scattered in several districts around Chiangmai province. Kru ba sriwichai who had his disciples. Paid strongly respected and donated such an asset to him for this renovation.
Beside the study is focusing into the comparison between the restored stupas in Chiangmai province by Kru ba sriwichai and the phototyped stupa namely : Wat phrathat haripunchai stupa in Lumpoon province that How is difference or similar ?
The resulting of the study said that, the restored stupas figure was displayed the distinctive design of Kru ba sriwichai by the expansion on the basement position with its 5-6 level before the figure of Haripunchai style, placed it on top. That make the stupas slender.
Below the bell part, supported with 3 sets of lotus pedestal, which it decorated with one or two torus in each pedestal. It was differ from the phototype stupa in Lanna style. This form stupas were become the uniquely design of Kru ba srtwichai around 25th B.C.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
119