ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี : รูปแบบและความหมาย

Other Title:
Gana in Dvaravati : forms and iconography
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาประติมากรรมคนแคระที่พบในศิลปะทวารวดีของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการศึกษาทางด้านคติและรูปแบบที่ปรากฏในตัวประติมากรรมทั้งประติมากรมลอยตัวและประติมากรรมปูนปั้น โดยศึกษาตั้งแต่คติความเชื่อจากทางด้านคัมภีร์โบราณต่าง ๆ ที่ปรากฏหลักฐานการกล่าวถึง รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคติของคนแคระและรูปแบบของประติมากรรมคนแคระของศิลปะอินเดีย รวมถึงในศิลปะเดเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะส่งรูปแบบและคติให้กับงานประติมากรรมคนแคระในศิลปะทวารวดี
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าประติมากรรมคนแคระในศิลปะทวารวดี มีรูปแบบและคติที่มาจากศิลปะอินเดีย โดยคติที่ปรากฏในศิลปะทวารวดีนั้น ประติมากรรมคนแคระเทียบได้กับประติมากรรมยักษะในศิลปะอินเดีย โดยได้รับรูปแบบและคติมาจากศิลปะอินเดียอย่างชัดเจน โดยทางด้านคติที่ปรากฏประติมากรรมคนแคระในศิลปะทวารวดีมีคติความเชื่อทางด้านเป็นผู้แบกหรือผู้ค้ำจุน เป็นผู้ปกป้อง และยังแสดงออกถึงความเป็นบุคคลสูงศักดิ์และต่ำศักดิ์อีกด้วย This thesis is concerned with dwarf sculptures founded in Dvaravati art in Thailand. The thesis deals with beliefs and styles that occur in both 3d sculpture and stucco, studying on beliefs from many scriptures and other documents related to beliefs about dwarf and dwarf sculptures in Indian art including SEA art that has an influence on dwarf sculptures in Dvaravati art.
As a result, dwarf sculptures in Dvaravati art is influenced by Indian art. Dwarf sculpture in Dvaravati art could be compared as giant sculpture in Indian art which is clearly influenced by Indian art. Dwarf sculptures in Dvaravati art are believed to be the beholder, guardian and presented social status as well.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
372