กรรมวิธีแบ่งตอนของภาพในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Other Title:
A scene dividing method in mural painting : Late Ayutthaya to early Rattanakosin Period
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าฉบับนี้ทำการศึกษากรรมวิธีแบ่งตอนของภาพในงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเน้นจุดหมายการศึกษาถึงที่มาความหมายเส้นสินเทาและลักษณะวิธีแบ่งภาพด้วยเส้นสินเทา เพื่อกำหนดรูปแบบสอดคล้องกับองค์ประกอบจิตรกรรมแต่ละสมัย
ผลการศึกษาพบว่า ไม่สามารถสืบหาที่มาและความหมายของเส้นสินเทาได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเป็นคำที่คุ้นเคยในงานช่างจิตรกรรมไทยโบราณ รูปแบบเส้นสินเทาในการแบ่งภาพกำหนดได้ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบเส้นสินเทามีลวดลายคล้ายน่องสิงห์
2. รูปแบบเส้นสินเทาไม่ปรากฏลวดลาย และ
3. เส้นสินเทาแบบศิลปะจีนหรือเส้นฮ่อ
ผลการวิเคราะห์รูปแบบของกรรมวิธีแบ่งภาพทำให้เห็นว่า การใช้เส้นสินเทาแบ่งภาพเป็นความนิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยระยะหลังลดความสำคัญโดยปรากฏอยู่เฉพาะฉากสำคัญเท่านั้น รูปแบบเส้นสินเทาที่ไม่ปรากฏลวดลายและรูปแบบเส้นคดโค้ง หรือเส้นฮ่อเป็นรูปแบบของเส้นสินเทาที่ปรากฏในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 This research is to study methods used to divide scenes in Thai traditional painting from late Ayutthaya to early Rattanakosin. The main objective is to know origination and meaning of “Sin Thao” and styles of “Sin Thao” in scene dividing in order to identify the character of Sin Thao in each period.
The result of this research indicates that the origination and meaning of Sin Thao are unable to clearly investigate. However, it can be assumed that the word Sin Thao was familiar in Thai traditional mural painting. The styles of Sin Thao in scene dividing can be identified as follows :
1. The Sin Thao elaborated like lion-calf style
2. The Sin Thao without elaboration
3. The Sin Thao in Chinese style or called “Hor”
The result from analyzing scene dividing method shows that the use of Sin Thao was popular during late Ayutthaya to early Rattanakosin period. Later, its importance was gradually reduced as it was appeared in significant scenes only. The Sin Thao without elaboration and Sin Thao in Chinese style can be found during the reign of King Rama 3.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
228