จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง : "ฝีมือศิษย์ ฝีมือครู" กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์กับจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร จังหวัดลำปาง

Other Title:
Mural painting of Watkohwarukaram, Lampang
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานจิตรกรรมฝาผนังในเขตพื้นที่ล้านนาที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาระบุว่าโดยมากแล้วล้วนแต่เป็นงานที่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 25 ขึ้นมาทั้งสิ้น
ผลงานเหล่านี้นอกจากจะมีพบที่เมืองเชียงใหม่อันเป็นศูนย์กลาง รวมถึงเมืองน่านทางแถบตะวันออกของพื้นที่ล้านนา ยังได้พบเป็นสำคัญที่เมืองลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสืบเนื่องของงานจิตรกรรมฝาผนังเรื่อยมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 22 เมื่อครั้งที่ล้านนายังอยู่ในอาณัติของพม่า จนกรกะทั่งถึงช่วงเวลาดังกล่าวที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม
จากมูลเหตุของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองอันส่งผลถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม งานศิลปกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานจิตรกรรมฝาผนังควรจัดได้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
งานจิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดเกาะวาลุการาม จังหวัดลำปาง มีหลักฐานว่าเขียนขึ้นเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25 โดยช่างชาวพื้นเมืองผู้ผ่านการฝึกฝนฝีมือในฐานะผู้ช่วยให้กับนายช่างจากเมืองหลวง ผู้เดินทางชึ้นมาฝากผลงานไว้ที่อุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างกัน จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้งานทั้ง 2 แห่งมีรูปแบบที่สืบทอดกันมา หากว่างานของนายช่างชาวพื้นเมืองได้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มเติมรายละเอียดเฉพาะ อันเป็นลักษณะของท้องถิ่นเข้าในโครงสร้างหลักของงานที่เดินตามแบบแผนเช่นฝีมือครูที่ได้รับการฝึกฝนมา
การผสมผสานดังนี้เป็นแบบอย่างที่น่าสนใจ โดยแม้จะไม่ได้ถึงขั้นที่มีเอกลักษณ์อย่างพิเศษจนสามารถจัดได้เป็นกลุ่มรูปแบบฝีมือในระดับสกุลช่าง หากการแสดงออกทางงานช่างเช่นนี้เป็นตัวอย่างอันชัดเจนว่างานศิลปกรรมล้วนแต่เป็นเครื่องสื่อสารให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมในแต่ละห้วงเวลา
สารนิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลของการศึกษาถึงงานจิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดเกาะวาลุการามอันเป็นฝีมือของนายช่างชาวพื้นเมือง ที่แม้จะมีลักษณะเฉพาะตนแสดงออกอยู่ในงาน หากว่ายังคงสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขรูปแบบงานของกรุงเทพฯ ตามที่ได้ฝึกฝนฝีมือมาจากการทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับนายช่างจากเมืองหลวงในงานจิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร รวมถึงในระยะต่อมาที่มีหลักฐานว่าช่างชาวพื้นเมืองผู้นี้ได้กลับมาทำการบูรณะเพิ่มเติมบางส่วนของงานในแหล่งหลัง ทำให้สามารถศึกษาเปรียบเทียบงานทั้งสามส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงพัฒนาการในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนภาพความเป็นไปของสังคมเมืองลำปางในช่วงเวลานั้น Most of the mural painting which existing around the northern part of Thailand, Lanna should not be dated back to earlier than the mid of 19th Century.
The sites of these mural paintings, except Chiangmai which is realized as the central and Nan which location is about the eastern part of Lanna’s temtory, Lampang is one of the most important site for its continually of the works since 17th Century, under governed by Burma until the time mentioned, which was under power of Siam.
The art works. Especially, the mural painting is one of the most important evidence, which reflected to the changing of social and culture.
The mural painting of Wat Kohwarukaram, Lampang province has an evidence to pointed out its origin in the early year of 20th Century, by the local artist who used to work as an assistant to the artist from the capital, whose his work is exist at Wat Boonyavatayaviham, which is reason why both mural paintings have the same style. Although, the first one may has some locally characteristics.
The master report is a result of the study of mural painting inside the Ubosod of Wat Kohwarukaram in term of the relationship to the work at Wat Boonyavatayaviham, which is realized as its prototype. For the aim of this study is to show the relationship between these 2 works, which could reflected the movement of Lampang society at that time.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
118
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ภาพเขียนสีภายในวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Archaeology / สารนิพนธ์ – โบราณคดีType: Thesisสมพงษ์ คันธสายบัว (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1981) -
การศึกษาการจัดการแหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Archaeology / สารนิพนธ์ – โบราณคดีType: Thesisจิตรลดา อินนันชัย (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007) -
การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Collection: Theses (Master's degree) - Prehistorical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์Type: Thesisชินณวุฒิ วิลยาลัย; Chinnawut Winyalai (1999)การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูล ทั้งในส่วนภาพเขียนสีและหลักฐานการทำกิจกรรมของคนในอดีตบริเวณพื้นดินใต้ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 1 ซึ่งในส่วนของภาพเขียนสีนั้น ...