การพยากรณ์ความผันผวนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Author:
Advisor:
Date:
2008
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัดความแม่นยำของแบบจำลองต่างๆที่ใช้ในการวัดความผันผวนของดัชนี ราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบจำลองที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วยแบบจำลอง Random Walk แบบจำลอง Historical Mean แบบจำลอง moving Average 5 วัน และ 20 วัน แบบจำลอง Exponential Smoothing แบบจำลอง Simple Regression แบบจำลอง Generalized Autoregressive Conditional Heteroskedasticity (GARCH ) แบบจำลอง GJR-GARCH แบบจำลองGARCH Student's T และแบบจำลอง GJR-GARCH Student's T สำหรับวิธีการวัดค่าความคลาดเคลื่อนใช้วิธี Mean Error วิธี Mean Absolute Deviation วิธี Root Mean Squared Error วิธี Mean Absolute Percentage Error และวิธี Mean Mixed Error
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้อมูลรายวันของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นช่วง สร้างแบบจำลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนธันวาคม 2549 และช่วงทดสอบแบบจำลองตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2551 ผลการวิจัยพบว่าเมื่อ เมื่อวัดค่าความคลาดเคลื่อนด้วยวิธี MAD แบบจำลองที่เหมาะสมในการพยากรณ์ความผันผวนช่วงสร้างแบบจำลอง คือแบบจำลอง ES และช่วงทดสอบแบบจำลอง คือแบบ จำลอง HM เมื่อวัดความคลาดเคลื่อนด้วยวิธี RMSE พบว่าแบบจำลองที่เหมาะสมทั้งช่วงสร้างแบบจำลองและช่วงทดสอบแบบจำลองคือแบบจำลอง GARCH เมื่อวัดความคลาดเคลื่อนด้วยวิธี MAPE แบบจำลองที่เหมาะสมทั้งช่วงสร้างและทดสอบแบบจำลอง คือแบบจำลอง MA 20 วัน เมื่อใช้วิธี MME(U) พบว่าแบบจำลองที่เหมาะสมทั้งช่วงสร้างและช่วงทดสอบแบบจำลองคือ แบบจำลอง
GJR-GARCH และวิธี MME(O) พบว่าแบบจำลองที่เหมาะสมทั้งช่วงสร้างแบบจำลองและช่วงทดสอบแบบจำลองคือแบบจำลอง RW ประโยชน์ของงานวิจัยเรื่องนี้คือ นักวิจัยและนักลงทุนทราบถึงองค์ความรู้และแนวทางการพยากรณ์ความผันผวนของดัชนีราคาหลักทรัพย์
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
49