รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร

Other Title:
Development and management of digital intellectual repository Silpakorn University
Subject:
Date:
2017
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัย ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุง ประชากรคือ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ที่สังกัดในหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการคลังปัญญาจากสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทย 4 แห่ง และศึกษาข้อมูลการจัดการผลงานทางวิชาการจากคณะวิชา/หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 9 แห่ง รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ พบว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรควรจัดตั้งคลังปัญญาเพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม เก็บรักษา และเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย มีการเข้าถึงอย่างเสรีและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการดำเนินงาน จึงสร้างรูปแบบเพื่อพัฒนาและจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่อว่า “CREATION model” ได้แก่ เนื้อหาสาระของคลังปัญญาดิจิทัล (C= content of Silpakorn University Repository) การค้นคืนและการแสดงผล (RE= Retrieve and results) การกำหนดสิทธิ์โดยผู้ทรงสิทธิ์และประชาคมมหาวิทยาลัยศิลปากร (A= Authorization by Owner Rights and Silpakorn University Community) เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับคลังปัญญา (T=Technology for Repository) อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร (I=Identity of Silpakorn University) การเข้าถึงแบบเสรี (O=Open Access) และความต้องการของประชาคมมหาวิทยาลัยศิลปากร (N=Needs of Silpakorn University Community) ผลการประเมินความเหมาะสมและรับรองรูปแบบการพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร และประเมินผลในการปฏิบัติงานของคลังปัญญา
ดิจิทัลมหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความพึงพอใจในระดับมากการศึกษาการใช้คลังปัญญาดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบ “CREATION model” ในภาพรวมแบ่งเป็น4ด้านได้แก่ด้านทรัพยากรสารสนเทศด้านการสืบค้นและการแสดงผลการสืบค้นด้านการเข้าถึงและการกำหนดสิทธิ์ และด้านอัตลักษณ์พบว่าความต้องการรูปแบบคลังปัญญาดิจิทัลมหาวิทยาลัยศิลปากรในภาพรวมอยู่ในระดับมากเฉพาะอย่างยิ่งด้านอัตลักษณ์ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อการใช้คลังปัญญาดิจิทัลมหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
Type:
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
199