การประดับครุฑที่ปรางค์ในสมัยอยุธยา

Other Title:
The decoration of Garuda on Prang in Ayutthaya art
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของที่มีที่ไป และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการประดับ จากครุฑยุดนาคบนนาคปัก มาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว และสาเหตุของการหายไปของการประดับ โดยการค้นคว้าจากข้อมูล งานวิจัยต่าง ๆ และการสำรวจภาคสนามโบราณสถานในประเทศไทยและโบราณสถานในประเทศกัมพูชา ซึ่งยังไม่มีผู้ใดศึกษาไว้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
เนื้อหาของการวิจัย แบ่งเป็น 4 บทย่อย ประกอบด้วยบทที่ 1 (บทนำ) กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา บทที่ 2 กล่าวถึงที่มาของงานประดับครุฑยุดนาค บทที่ 3 กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนในด้านของการประดับ และด้านรูปแบบของครุฑยุดนาคในดินแดนไทยโดยเริ่มจากต้นแบบของการประดับ ที่มีอยู่ในศิลปะขอมเปรียบเทียบกับงานที่พบในศิลปะไทย บทที่ 4 บทสรุป
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบงานประดับครุฑยุดนาคบนนาคปัก ปรางค์วัดนครโกษา เชื่อว่าได้ต้นแบบมาจากงานประดับครุฑยุดนาคบนนาคปักของปราสาทขอม
2. การปรับเปลี่ยนงานประดับบนนาคปัก มาเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง อย่างที่พบบนปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปทรงของชั้นหลังคา
3. สาเหตุของการหายไปของงานประดับครุฑยุดนาค บนปรางค์ประธาน สมัยอยุธยายุคกลาง – ยุคปลาย เกิดจากโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ตัวเรือนธาตุ จนถึงชั้นหลังคา ซึ่งพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยในการประดับอีกต่อไป
4. ในการประดับครุฑยุดนาคบนปรางค์ เชื่อว่าพื้นที่มีส่วนสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการประดับ เพราะจากการศึกษาปรางค์ขนาดเล็กในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงพบงานประดับครุฑบนชั้นเอวคอดของปรางค์ The main objective of this research is to search for the origin and change of the decoration of from Garuda clasping Naga serpent on antefix style to a high relief sculpture style and the reasons of disappearance of decoration by researching from some information, research and field surveys of Siamese and Khmer historic site where there is that on one studies before. And then we take all data to do an analysis.
The contents of the research are divided to four units viz unit 1 (Preface) which is about a background and a significance of the problem, unit 2 which is about the origin of Garuda clasping Naga serpent decoration, unit 3 which is about changes of the decoration and the styles of Garuda clasping Naga serpent in Thailand beginnning with an original decoration which can be found in Khmer arts comparing with Siamese arts and unit 4 which is a conclusion.
The results are found that..
1. It is believed that the decoration of Garuda clasping Naga serpent on antefix of Prang Wat Nakhon Gosa has an original style from the decoration of Garuda clasping Naga serpent on antefix of Khmer prasat.
2. One reason of a change from the decoration of Garuda clasping Naga serpent on antefix to which can be found in Prang in the early Ayutthaya period is that because a shape of roof is changed.
3. The reason of disappearance of the decoration of Garuda clasping Naga serpent on main prang in the middle to the end age of Ayutthaya period is that because a structure of architecture – from the body to its superstructure, is not appropriate for creating
4. It is believed that area has some significances for the decoration of Garuda clasping Naga serpent on prang because from the studies of some small Prangs in the end age of Ayutthaya period, still are found the decoration of Garuda on the concave shape of Prang’s basement.
Which shows that shapes of the Prang is mainly important. So it can be concluded that shape of the Prang has an effect on areas for decorating and on sculptures to decorate the decoration of Garuda clasping Naga serpent which is a symbol of ancient belief.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
120