กรัณฑมงกุฏเทวดาศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยาตอนกลาง

Other Title:
Karanda Makuta of god and goddess in Sukhothai art and crowned Buddha in middle Ayutthaya art
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
กรัณฑมงกุฎเป็นมงกุฎที่มีต้นแบบมากจากศิลปะอินเดีย และลังกา มีปรากฏในศิลปะไทยสมัยสุโขทัยเป็นครั้งแรก โดยมงกุฎประกอบด้วยกระบังหน้าซึ่งในสมัยแรกกระบังหน้ามีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายผ้า แสดงอิทธิพลศิลปะลังกา ในสมัยต่อมากระบังหน้ากลายเป็นแถบโลหะขนาดใหญ่มีลวดลายประดับประมาณ 4-6 แถว มีการประดับลายดอกสี่กลีบขนาดใหญ่กึ่งกลางกระบังหน้า ส่วนรัดเกล้ามีรูปแบบที่หลากหลาย จนไม่สามารถระบุวิวัฒนาการที่ชัดเจนได้ สำหรับการใช้งานกรัณฑมงกุฎในศิลปะสุโขทัย จะใช้เป็นศิราภรณ์ของเทวรูป และเทวดาทุกองค์ทุกขั้น ไม่ว่าจะเป็นเทพชั้นสูงหรือชั้นรอง ซึ่งแตกต่างจากศิลปะต้นแบบ เนื่องจากมีในศิลปะต้นแบบกรัณฑ-มงกุฎจะใช้เฉพาะเทพชั้นรอง และเทพีเท่านั้น
เมื่อถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ในภาพจิตรกรรมในกรุปรางค์วัดราชบูรณะ ปรากฏภาพกรัณฑมงกุฎ ซึ่งมงกุฎมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะลังกาอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นการรับผ่านศิลปะสุโขทัยมาอีกทอดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนกลาง มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งเป็นคติอย่างใหม่ที่ได้อิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา โดยเฉพาะพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย กรัณฑมงกุฎในสมัยอยุธยาตอนกลางประกอบด้วยกระบังหน้าขนาดใหญ่ ประกอบด้วยลายประดับตั้งแต่ 3 – 6 แถว มีการประดับลายดอกสี่กลีบขนาดใหญ่กึ่งกลางกระบังหน้าเช่นเดียวกับที่ปรากฏมาแล้วในศิลปะสุโขทัย ส่วนรัดเกล้ามีลักษณะเป็นทรงกรวยแหลมมีเส้นลวดคาดเป็นชั้น มีการประดับครีบเหนือพระกรรณทั้งสองข้าง ลักษณะการประดับครีบมีปรากฏมาแล้วในศิลปะสุโขทัย ที่เทวรูปพระหริหระ ส.ข. ซึ่งแม้จะไม่เหมือนกันนักและพบเพียงองค์เดียว แต่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยที่มีต่อศิลปะอยุธยาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่าลวดลายบางลาย และลักษณะการทำกระบังหน้าขนาดใหญ่อาจเป็นอิทธิพลจากศิลปะขอมซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนในภาคกลางของประเทศไทย
เมื่อเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนปลาย กรัณฑมงกุฎยังคงประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้าเช่นเดิม แต่รัดเกล้าของมงกุฎยืดสูงขึ้นอย่างมาก และยังคงปรากฏลักษณะลูกกลมซ้อนกัน และคั่นด้วยวงแหวน ยอดบนสุดประดับลูกแก้วทรงกลม ลักษณะดังกล่าวจะคงปรากฎจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กรัณฑมงกุฎอาจเป็นต้นเค้าให้กับมงกุฎทรงสูงในศิลปะสมัยต่อมา ซึ่งมงกุฎดังกล่าวอาจเกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปะไทย และศิลปะประเทศใกล้เคียง เนื่องจากลักษณะของกระบังหน้า และรัดเกล้าที่ถูกพัฒนา ผสมผสาน และดัดแปลงจนกลายเป็นมงกุฎทรงสูง หรือมงกุฎยอดในศิลปะไทย Karanda Makuta is a crown affected a pattern style from Indian and Singhalese art. It is firstly appeared in Thailand in Sukhothai period. A dominant feature of the crown is that it has a cap which is like a soft fabric which shows to Singhalese art. In the next period, it is changed to be some big decorated metal 4-6 stripes, in the middle is decorated with a big four-corolla pattern. While the crown was changing step by step in each period, it cannot be specified about the evolution of headdresses which are various. About the use of Karanda Makuta in Sukhothai period, it is used for being an accessory of the gods and goddesses statues in every class of them. It differs from the original art which only statues of goddesses and associate gods can wear Karanda Makuta.
In the early Ayutthaya period, Karanda Makuta is appeared in the mural of hiding chamber of Wat Ratchaburaba temple. It very alikes the Sukhothai art. It shows that the art of Singhalese transformed to Sukhothat. In the middle Ayutthaya period, some decorated Buddha statues especially statues decorated with Karanda Makuta are created by affecting of Lan Na art. The dominant feature of the Karanda Makuta in this period is a big front cap decorated with 3-6 stripes, big four-corolla pattern in the middle as it is appeared in the Sukhothai period. About the headdresses, its dominant feature is that its shape is like a cone strapped stratifily, aural-fins of the headdress is decorated beautifully like in the statue of Phra Hrihara S.Kh.24 which absolutely differs from the others. From this, it shows how Sukhothai art affects on Ayutthaya. Besides, it is found that some patterns and the feature of a big front cap might be affected from ancient Khmer art which once used to civilize in the central of Siam.
Turning into the end Ayutthaya period, Karanda Makuta still consists of a big front cap and a headdress, but the headdress is stretched much higher, still conserve the feature of the overlapped prills separated with a ring, the top of the crown is decorated with a round marble. This change is found until the period of Ratanakosin.
From the studies, it can conclude that the Karanda Makuta might be the beginning of the high shaped crown in the following period, which might stem from the combination of Siamese art and the other art of nearby countries due to the feature of the crown and headdress that are modified and combined until is changed to be high shaped crown or Makuta Yod in Thai art.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
254