รูปแบบศิลปกรรมของหอระฆังสมัยรัตนโกสินทร์

Other Title:
The belfries of the Rattanakosin period
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมา รูปแบบทางศิลปกรรม ตลอดจนแนวความคิดในการออกแบบอาคารประเภทหอระฆังในพระอารามสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านกลุ่มหอระฆังตัวอย่าง 18 แห่ง ได้แก่ หอระฆังวัดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม วัดมหรรณพาราม วัดสังข์กระจาย วัดสุวรรณาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดทัศน์เทพวราราม วัดโสมนัสวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และวัดยานนาวา
ในการศึกษาวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. หอระฆังเป็นอาคารเพียงประเภทเดียวในเขตพุทธสถานที่ได้รับการออกแบบโดยเน้นความสำคัญของรูปทรงที่สูงและโปร่งโล่ง โดยหอระฆังเครื่องไม้จะโปร่งกว่าหอระฆังเครื่องก่อ คงเพื่อให้เสียงที่เกิดจากการตีระฆังนั้น ดังกังวานไปได้ไกล โดยไม่มีอาคารอื่นมาขวาง ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในการออกแบบโดยหอระฆังสมัยรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่จะสร้างในเขตพุทธาวาส แต่ก็ไม่ไกลจากเขตสังฆาวาสหรืออาคารเอนกประสงค์อื่น เช่น ศาลาการเปรียญ ทั้งนี้คงเพื่อความสะดวกในการใช้งานเป็นสำคัญ เพื่อให้พระสงฆ์ตลอดจนฆราวาสได้ยินเสียงสัญญาณระฆังบอกให้ทราบเวลาในการประกอบศาสนากิจโดยพร้อมเพรียงกัน
2. แนวความคิดในการออกแบบหอระฆังส่วนใหญ่มักมิได้ยึดติดกับคติทางศาสนา ดังนั้นผู้สร้างจึงมีอิสระในการออกแบบให้เกิดความงามอันแปลกตาแตกต่างจากอาคารหลักของวัด เช่น อุโบสถหรือวิหาร ซึ่งมักผูกโยงกับกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดกว่า ลักษณะพิเศษนี้มีผลให้รูปแบบและแนวความคิดการออกแบบหอระฆังมีความยืดหยุ่น มีความพร้อมในการปรับตัวรับอิทธิพลจากภายนอกคือ รูปแบบศิลปะต่างประเทศ และจากปัจจัยภายใน ได้แก่ พัฒนาการของศิลปะไทยประเพณี นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สะท้อนรสนิยมและความเป็นไปของสังคมในแต่ละช่วงเวลา ผ่านความเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบสถาปัตยกรรม The aim of his thesis is to study the backgrounds, art styles and concepts belfries in the temples of the Rattanakosin period. Eighteen bell towers were chosen for this study ; they are from Wat Prachetuphonwimonmangkhalaram, Wat Rakhangkhositaram, Wat Bophitphimookworawihan, Wat Arunratchawararam, Wat Ratchaorasaram, Wat Thephidaram, Wat Ratchanaddaram, Wat Mahannapharam, Wat Sangkhajai, Wat Suwannaram, Wat Chalermphrakiet, Wat Suthatthepwararam, Wat Somanaswihan, Wat Ratchapraditsathitmahasimaram, Wat Phrasrirattanasasdaram, Wat Ratchabophitsathitmahasimaram, Wat Benjamabophitdusitwanaram and Wat Yanawa.
The result of the research are as follows ;
1. In each temple, the belfry is the only one building that was designed to be tall and not solid. However, the wood belfry is less solid than the brick one, so when rung, the bell of the former one can produce more resonant sound. This is the most important concept for the architecture of this kind. In this period, most of the belfries were built in the Buddhawasa, but not too far from the Sanghawasa and other versatile buildings such as the preaching hall. This arrangement was possibly due to the convenience because all of the monks and laymen can hear the bell which is rung to inform them the start of a ceremony.
2. Mostly, the design of belfries has not been fixed to any religious concepts, so the artisans built them according to the styles different from the ordination or assembly halls which were the most important buildings in each temple and therefore were stricter to the tradition. Due to this fact, the styles of the belfries are various and influenced by the art styles of other countries and the development of the traditional art. They also mirror the trends and society in the period that they were built.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
344