Cover dance กับการสร้างตัวตน : กรณีศึกษา กลุ่มนักเต้น Cover dance J-pop

ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2017
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
Dance และกระบวนการสร้างตัวตนของผู้เต้น Cover Dance J-pop ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้เต้น Cover Dance J-pop ในประเทศไทยจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการเข้าไปพูดคุยสัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงโดยใช้วิธีการสุ่มหาแบบเจาะจง ประกอบกับการใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกให้กลุ่มเป้าหมายเล่าเรื่องของตนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ก่อนจะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาสังเคราะห์จัดแจงแยกประเด็นและนำมาวิเคราะห์ในส่วนต่อๆ ไป ผลการวิจัยพบว่า การเต้น Cover Dance J-pop ได้สร้างตัวตนที่แตกต่างจากเดิมขึ้นมาให้กับผู้ที่เต้น Cover Dance โดยมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หรือแฟนคลับที่คอยติดตามผลงาน ที่จะเป็นตัวกำหนดตัวตนของผู้เต้น Cover Dance J-pop ได้ ดังนั้น การเต้น Cover Dance J-pop ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการแสดงออกถึงความชื่นชอบในตัวศิลปินที่ตนเองเต้นอยู่แต่ยังรวมไปถึงการสร้างอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากคนอื่นๆในสังคมโดยใช้ชื่อว่า นักเต้น Cover Dance J-pop
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา:
ภาควิชามานุษยวิทยา
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
2697