ปรางค์แขกเมืองลพบุรีกับประเด็นศึกษาใหม่

Other Title:
Prang Khaek of Lop BUri with a new identical view
Author:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปะและกำหนดอายุสมัยปราสาทอิฐทั้ง 3 องค์ของโบราณสถานปรางค์แขกแห่งเมืองลพบุรี ทั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบข้อเสนอของนักวิชาการในอดีต พร้อมทั้งเสนอแนะประเด็นใหม่ โดยเฉพาะได้ดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีเพื่อตรวจสอบข้อสันนิษฐานที่ได้จากการวิเคราะห์รูปแบบศิลปะด้วย
ผลสรุปของการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. ปราสาทองค์กลางอาจสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะมีลักษณะดั้งเดิมหลายประการที่สามารถเทียบได้กับสถาปัตยกรรมขอมที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษนั้น ส่วนปราสาทองค์ใต้ก็มีลักษณะดั้งเดิมบางอย่างเหมือนกับปราสาทองค์กลาง จึงควรสร้างขึ้นพร้อมกันแต่ปราสาทองค์เหนือตามที่เห็นในปัจจุบันควรเป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดในสมัยอยุธยาตอนปลาย
2. การขุดตรวจทางโบราณคดีทำให้ได้พบข้อมูลใหม่คือ ใต้ระดับพื้นผิวดินในปัจจุบันยังมีฐานไพทีที่รองรับปราสาทอิฐทั้ง 3 องค์อยู่ ดังนั้นปราสาททั้ง 3 องค์จึงสร้างขึ้นพร้อมกันบนฐานไพทีนั้น ซึ่งอาจเป็นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 โดยที่ปราสาทองค์เหนือต้องเคยมีปราสาทหลังเดิมอยู่ก่อน แล้วอาจพังทลายลงไปในคราวใดคราวหนึ่งหรืออยู่ในสภาพชำรุดอย่างมาก จนกระทั่งในสมัยอยุธยาตอนปลายจึงได้มีการก่อสร้างปราสาทหลังใหม่ขึ้นบนตำแหน่งของปราสาทองค์เดิม
3. ศาสนสถานปรางค์แขกมีการก่อสร้างใน 2 ช่วงสมัยสำคัญ คือ 1) สมัยที่มีการก่อสร้างปราสาท ซึ่งอาจมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 และ 2) การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายใต้รัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ก่อนที่จะมีการบูรณะอีกหลายต่อหลายครั้งโดยกรมศิลปากรเมื่อไม่นานมานี้ The objectives of this research are to study the style and dating of three brick buildings that should be called “Prasat” of Prang Khaek, an ancient sanctuary of Lop Buri. This study also aimed to review the hypotheses proposed by many scholars and related to this important monument. At the same time, through the art historical analysis and the employment of the archaeological methods, the researcher presents some new ideas as well.
The results of this research are as follows.
1. The central Prasat should have been built in about the 10th century A.D., because its architectural style can be compared with the 10th century Khmer architectures. The south Prasat has some similar styles with the central one ; therefore, it should have been constructed at the same time as the central one. However, the north Prasat, as can be seen today, must have been rebuilt in the late Ayuthaya period.
2. The archaeological testing excavation has shown a new evidence. It is the pedestal supporting these three Prasat which is called “Than Paitee”. Thus, these three brick buildings should have been built in the same time, probably in the 10th century. As for the northern Prasat, its form should have been similar with the southern one. However, it was probably in a dilapidated condition and later reconstructed in the late Ayuthaya period.
3. From all of the evidence found in the sanctuary, the construction of the buildings in the temple occurred in two distinctive periods. The first one is the 10th century A.D. and the second one is the late Ayuthaya period in the reign of King Narai (1656-1688 A.D.). After these two periods, this monument was restored by Fine Art Department.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
157
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ชุมชนเมืองเก่าลพบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Urban Design / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบชุมชนเมืองType: Thesisอุดม สกุลพาณิชย์; Udom Skulpanich (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1990) -
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดลพบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisวรารัตน์ รุ่งเรือง; Vararat Roongrueng (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005) -
การพัฒนาแบบฝึกความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการเดาความหมายจากบริบทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ลพบุรี
Collection: Theses (Master's degree) - Teaching English/Teaching English as a Foreign / วิทยานิพนธ์ – การสอนภาษาอังกฤษ/การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศType: Thesisไพโรจน์ ธรรมพิธี; Pairoje Tampitee (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)