การนำเสนอตัวตนบนพื้นที่เสมือน

Other Title:
Self identification of the virtual space
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
โครงการวิทยานิพนธ์โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้ชมในเรื่องการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ในสมัยที่ข้อมูลของบุคคลถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการสื่อสารการรับรู้และการจำแนกตัวบุคคล ผลงานศิลปะในวิทยานิพนธ์นี้นำเสนอในรูปแบบของงานประติมากรรมเพื่อแสดงสาระของความหมายเชิงนามธรรมในเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
ในปัจจุบันการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างบุคคลมักเป็นการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลสู่ข้อมูลหรืระหว่างข้อมูลกับบุคคล ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์หรือการทำธุรกรรมอื่นๆ ผู้ศึกษาเห็นว่าปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นนี้สร้างผลกระทบต่อสังคมอย่างสูง จึงต้องการนำเสนอผลงานศิลปะในประเด็นการปรากฏตัวของบุคคลในฐานะของข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. การรับรู้ต่อบุคคลเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ตัวตนของบุคคลกลายเป็นข้อมูลชุดหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ การติดต่อรับรู้ตัวตนบุคคลล้วนอยู่ในรูปของการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
2. บุคคลสามารถมีหลายตัวตนบนพื้นที่เสมือน คุณสมบัติทางเทคโนโลยีเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งข้อมูลแทนตนได้ตามความพึงพอใจ บุคคลจึงพยายามสร้างภาพของตนให้เป็นไปตามอุดมคติมากที่สุดก่อนนำเสนอ ปรากฏการณ์นี้ทำให้เห็นว่าภาพที่ปรากฏบนพื้นที่เสมือนนั้นเป็นคนละส่วนกับตัวตนที่แท้จริง บุคคลคนหนึ่งสามารถมีหลายตัวตนบนพื้นที่เสมือน
3. การปรากฏตัวของบุคคลในฐานะข้อมูลบนพื้นที่เสมือน การแปลงค่าข้อมูลบุคคลไปสู่ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลมีความสัมพันธ์กับตัวบุคคลนั้นตลอดเวลาการมีอยู่ของตัวบุคคลในปัจจุบันจึงไม่ปรากฏในรูปกายภาพเท่านั้นแต่ยังสามารถดำรงในสถานะที่ต่างออกไป The thesis presents the arts relate to the individual to explain the age that individual has been transformed into the intangible information via sculpture to present its content concretely. Therefore, the audience has more understanding in the media that affects the individual. The objectives is to create the perception of transition period to the audience where the individual information has been transformed into the computer database that affects the communication culture, perception and individual classification.
To understand someone. It has been changed to the form of mobile and removable database that can connect with other information quickly such as the interaction on online media, database searching or transaction that do not require the physical space to identity oneself. The researcher recognizes the importance of this social circumstance and would like to present the individual perspective that has been transformed into database form dividing into three aspects under the concept “Self-Identification in virtual space” as follows.
1. Perception of individual that has been transformed into electronic database – computer technology transforms the perception of people into a set of database that has the equivalent importance as the individual existence. This set of information can be used for activities in the virtual space beyone the limitation that the physical space is a lowed.
2. The noividual can have many avatars on virtual space – technology properties allow the user to adjust information as desired. Therefore, the individual tries to create their image as ideal as he can before presenting oneself. This circumstance implies that the image presenting in the virtual space is different from the real identity.
3. The alternation between individual and database on the virtual space – to transform individual information to computerized information creates the relationship between the information and the individual throughout the existence period of the individual. Thus, it is not only the physical from but also any other different forms.
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาทัศนศิลป์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
43