จิตรกรรมเรื่องนรกภูมิในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี พุทธศักราช 2319

Other Title:
Hellenic scene in Trai-Phum manuscript : Thonburi period 1776 A.D.
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี ซึ่งปัจจุบันพบจำนวน 3 ฉบับ โดย 2 ฉบับอยู่ในประเทศไทยและอีก 1 ฉบับ อยู่ในประเทศเยอรมันนั้น เป็นงานช่างที่มีระบุอายุเอกสารไว้ในบานแพนกชัดเจน ถือว่าเป็นพระราชมรดกที่สำคัญ นับเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกในสมัยกรุงธนบุรี ส่วนภาพเขียนนรกภูมิเป็นภาพสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากจินตนาการ มิใช่ภาพเลียนแบบธรรมชาติ การแสดงออกของช่างจึงต้องอาศัยแนวคิด บนพื้นฐานความเชื่อในเวลานั้น
ความมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาความหมาย และรูปแบบ ตลอดจนทราบถึงที่มา และแนวความคิด ในการออกแบบภาพนรกภูมิ โดยการเปรียบเทียบเนื้อหาในวรรณกรรมไตรภูมิ 2 ฉบับ คือ คัมภีร์ไตร๓มิกถา และไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ซึ่งประพันธ์ขึ้นต่างห้วงเวลามากกว่า 400 ปี ในมิติของการถ่ายทอดจากงานวรรณกรรม
ดังนั้นเนื้อหาการวิจัยนอกจากจะแสดงการศึกษาเปรียบเทียบภาพนรกภูมิ ทั้งมหานรก นรกบริวาร และโลกันตนรก ระหว่างสมุดภาพฯทั้ง 3 ฉบับ อย่างละเอียดแล้ว จึงจำเป็นต้องมีส่วนของการเปรียบเทียบวรรณกรรมทั้งสองด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า การเขียนภาพนรกภูมิมีรูปแบบ ที่สามารถสรุปเป็นแบบแผนที่ชัดเจนเป็นลำดับ มีการแสดงออกของภาพใกล้เคียงกับเนื้อหาในไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา มากกว่าไตรภูมิกถา นอกจากนี้รูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏ และการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเรื่องวันที่โบราณ ทำให้เพิ่มเติมข้อสรุปได้ในประเด็นความเป็นต้นแบบและฉบับคัดลอกว่าสมุดภาพไตรภูมิทั้ง 3 ฉบับ คงจะมิได้เขียนขึ้นในคราวเดียวกัน แต่มีฉบับหนึ่งในนั้น ที่น่าจะเป็นฉบับคัดลอกต่อมาในภายหลังมิใช่ราชสำนักจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2319 TRAI-PHUM MANUSCRIPT (Thonburi era version), three of which have been found now and two of them are in Thailand and the other one is in German, indicate their age by dates of making in colophons. They are valuable heritages and regarded as masterpieces of paintings in the Thonburi period. The paintings of the Hellenic Scene sprang from imagination not an imitation of nature. The paintings were thus based on people’s view of hell in the period of that time.
This report aims to study meanings and patterns of the Hellenic Scene in the Trai-Phum manuscript as well as its origin and concept in designing the paintings. The study was carried out based on a comparative study of the two versions of literature : 2 Sermons which are Traibhumikatha and Traibhumilokavinijayakatha. Traibhumikatha was written over 400 years earlier than Tribhumilokavinijayakatha. Thus this focuses on similarities and differences of the concept derivation appearing in the paintings of the Hellenic Scene in the two versions.
The study compares and contrasts the sub-scenes paintings of the Hellenic Scene in the three manuscripts, which are the Major Hells, the Auxiliary Hells and Lokanta Hell. Moreover the study opts a comparative reading of the two versions of the sermons of the Trai-phum or the three Worlds to offer a clearer understanding of the paintings.
The study leads to a conclusion that all versions of the paintings of the Hellenic Scene have similar patterns that are all lucid and orderly. The content of the paintings in the 3 manuscripts are more similar to the sermon of Traibhumilokavinijayakatha than to Trarbhumikatha. The study of the paintings also lead to an assumption that all three versions were not painted during the same period. One of them was likely an imitation later of the TRAI-PHUM MANUSCRIPT royally made in 1776.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
861