วัตถุ สี และสัญญะชีวิต

Other Title:
Object Color - Symbol Life
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
18
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การให้นิยามและสื่อความหมาย “การบริโภคนิยม” ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมกระแส
หลักหรือในอีกนัยหนึ่งที่กลายเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ในสังคม ผลงานสร้างสรรค์
ชุด “วัตถุ สี และสัญญะชีวิต” จึงเป็นวิถีทางแห่งเจตนาเพื่อต้องการสื่อสารเพื่อสะท้อนเรื่องราวความ
เป็นจริงผ่านรูปแทนของวัตถุที่ถูกมองข้าม และบ้างก็ตีตราสถานะเป็นความเหลื่อมล้ำของผู้ใช้ว่าเป็น
คนละชนชั้น หากแต่การสร้างสรรค์โดยนัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะสื่อสะท้อนค่านิยมอันมีต่อวัตถุข้าว
ของเครืิ่องใช้ที่ทำจากวัสดุพลาสติก และแฝงนัยยะของความพอเพียงที่พึงพอใจในความเป็นอยู่
ยอมรับปัญหารวมทั้งเผชิญหน้าด้วยการครองสติ และมีปัญญาผ่านวัตถุทางศิลปะหรือด้วยผลงานภาพ
พิมพ์ เทคนิคภาพพิมพ์แม่พิมพ์ตะแกรงไหม (Silkscreen) ซึ่งได้เผยให้เห็นสัญญะที่ถูกซ้อนเร้นหรือ
อำพรางเกี่ยวกระหวัดถึงสถานการ์ของโลกในปัจจุบัน “วัฒนธรรมบริโภคนิยม” จึงเป็นเสมือนภาพสะ
ท้อนวิีถีการดำเนินชีวิต และยังเป็นเหตุปัจจัยของการเลือกวิธีการสื่อสารด้วยรูปลักษณ์ของวัตถุสิ่งของ
ที่คุ้นเคยคุ้นชินตาหากแต่ดูเหมือนไร้คุณค่า แต่ทว่านำมาปรับเปลี่ยนบริบทด้วยการจัดวางรูปแบบ สี
และยังรักษาความเป็นจริงของวัตถุหรือสัจจะแห่งวัสดุอันเป็นนัยแห่งปัจเจกของตนเอง ซึ่งเป็นภาษา
ทางความคิด
อนึ่งรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ของ “วัตถุ สี และสัญญะชีวิต” จึงเป็นกุศโลบายแห่งทัศนศิลป์หรือ
สื่อกลางที่อาศัยสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งปรากฎรูปลักษณ์อยู่ทุกชนชั้นหากแต่ทว่าเป็นวิถี
การดำเนินไปของคุณภาพชีวิตที่กลับถูกนิยามลำดับสถานะด้วยสัญลักษณ์แห่งวัสดุ ประเด็นสาระของ
การสื่อเชิงสัญลักษณ์โดยนัยก็เพื่อกระตุ้นเร้าให้ผู้พบเห็นในสังคมบริโภคนิยมได้ฉุกคิดและย้อนกลับมา
สำรวจพิจารณาความคิด ทัศนคติ รวมถึงความมีตัวตนของตัวเองว่า แท้ที่จริงคุณค่าของคนนั้นถูกแบ่ง
แยกกันที่การเลือกใช้สิ่งของเพียงแค่นั้นหรือ “?” หรือคุณค่าของคนอยู่ที่การกระทำอันเป็นสาระ ด้วย
การตระหนักรู้ในตนเองและรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวที่ผันแปรตลอดเวลา Nowadays “Consumerism” has become the dominant culture, in other words, it
has become one of the basic needs for the majority of people. The intention for
creating “Object Color-Symbol Life” is to reflect the reality through the
representative of an overlooked objects that was stigmatised by social inequality
as an object for lower class people. This artwork aims to reflect on the values of
material that is made from “plastic”, and the implications of life satisfaction,
acceptance and wisely confrontation with social problems through works of art
such as silkscreen printing which reveals the hidden or concealed symbols
relating to the current world situations. “Consumerism” is like a reflection of daily
life, which inspired me to turn everyday objects that seem to be worthless into
artworks. I have changed the objects usual context by rearranging their form and
colour, but still maintain their true materials which implies to individuality.
Symbolic form in “Object Color-Symbol Life” is displayed through the
images of objects that are commonly found in everyday life of people from every
social classes. These objects show the quality of people life that is defined and
ranked by the value and price of material. The main purpose of this artwork is to
encourage the audience to think critically, to look back and explore their
thought, attitude and their own existence. I want to the motivate the audience to
question the true value of people, whether it should only be divided by the
value of their possession of property? Or should it be measured by selfawareness
or one act of goodness?
Type:
Degree Name:
ศิลปบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
329