จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมาลัยในภาคกลางของประเทศไทย

Other Title:
Mural paintings of Phra Malai in the central part of Thailand
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปแบบและพัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมาลัยในท้องถิ่นภาคกลาง ทั้งในด้านศิลปะ และคติที่มา อิทธิพลหรือแรงบันดาลใจในการสร้างจิตรกรรม ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน
ผลการศึกษาวิจัยค้นพบว่า
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมาลัยในท้องถิ่นภาคกลาง พบหลักฐานสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23 และมีพัฒนาการมาโดยลำดับ โดยได้รับอิทธิพลทางรูปแบบและคติธรรมจากวรรณกรรมพระมาลัย และวรรณกรรมอื่น ๆ ที่มีคติธรรมใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากวรรณกรรมประเภทโลกศาสตร์ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความรู้ ความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมาลัยสมัยอยุธยาตอนปลาย แสดงเนื้อหาเรื่องราวซึ่งได้อิทธิพลจากวรรณกรรมพระมาลัยยุคต้นที่แต่งขึ้นในล้านนา และเผยแผ่เข้ามาสู่ภาคกลางตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 22 คือ มาลัยสูตร หรือ มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ ซึ่งเน้นคติธรรมเรื่องผลของกรรมดีเป็นสำคัญ ส่วนจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับอิทธิพลแรงบันดาลใจทางคติธรรมจากวรรษกรรมไตรภูมิ และวรรณกรรมพระมาลัยยุคหลังที่แต่งขึ้นในอยุธยาเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นต้นมา คือ คัมภีร์ฎีกามาลัย พระมาลัยกลอนสด อนุฎีกามาลัย และพระมาลัยสำนวนเทศน์ ซึ่งเน้นแสดงอานิสงค์ของผลกรรมชั่วและผลกรรมดีเสมอกัน
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมาลัยในภาคกลาง มีบทบาทสำคัญสูงสุดในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 – 3 จากนั้นลดความสำคัญลง จิตรกรรมรูปแบบไทยประเพณีซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวพระมาลัยสืบเนื่องมาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ก็เริ่มเสื่อมคลายลงในสมัยหลังรัชกาลที่ 3 อันเป็นผลมาจากการนำเทคนิคจิตรกรรมแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสานมากขึ้นทุกขณะ ในที่สุดจิตรกรรมพระมาลัยก็เสื่อมลง ด้วยการลอกเลียนแบบจิตรกรรมจากภาพพิมพ์ ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่กระจายไปทั่วประเทศ This research aims to study forms and development of murals depicted Phra Malai stories in the central region of Thailand, including styles of art, principles, influence and inspiration of paintings creation from Ayutthaya period to the present.
From the research, it was found that ;
Murals of Phra Malai in the central region, assumed from the evident found, had been created from late Ayutthaya period in 16th century and had continuous development ever since. The paintings were influenced by forms and principles of Phra Malai literatures and related stories, especially the topics of the world, developed through the changing condition of the society, economy, knowledge and beliefs.
Murals of Phra Malai in late Ayutthaya period depicted the stories impact by early Phra Malai literatures written in Lanna distributed to the central region since 17th century ; Malai Sutra (Malayathewattherawatthu), in which concentrated on the principles of the results of good Karma. The paintings in Bangkok period were inspired by the principles from the three worlds literatures and late Phra Malai stories had written from middle 17th century ; Malai Scripture, Phra Malai Chanting Verse, Mlai Minor Scripture and Pra Malai Sermon Verse, in which concentrated on the results of bad and good Karman.
Murals of Phra Malai in the central region were gained the most significance in early Bangkok period during the reign of King Rama I-III, and declined after that. Traditional Thai paintings, had continuous depicted the scenes in Phra Malai stories since late Ayutthaya period, were waned after the reign of King Rama III, as a result from an influence of western painting technique applied in Thai arts. Finally, Phra Malai paintings were diminished as the time reproductions of paintings from printmaking were gaining their popularity all over the country.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
184