จิตรกรรมฝาผนังเรื่องธุดงควัตรสิบสามภายในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

Other Title:
Thudongkawat 13 : mural painting in the chapel at Wat Mahaphradharamworawiharn
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติแห่งการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องธุดงควัตรสิบสาม และรูปแบบการวาดที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากอิทธิพลตะวันตกที่แผ่เข้ามาในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า
1. ช่างเขียนภาพจิตรกรรมของไทยนำรูปแบบการเขียนแบบตะวันตกเป็นต้นแบบในงานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เส้นขอบฟ้าเป็นจุดนำสายตา การเขียนภาพแบบสามมิติ ฉากธรรมชาติ การเขียนภาพต้นไม้เป็นเส้นตรงและการเขียนภาพตามแบบทัศนียวิสัยซึ่งในช่วงแรก ๆ นั้นโดยส่วนใหญ่เป็นการเขียนตามแบบพิมพ์แบบตะวันตก รวมทั้งภาพอาคารแบบตะวันตกที่ปรากฏปะปนกับอาคารแบบไทยซึ่งแสดงภายในภาพ
2. จิตรกรรมฝาผนังในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ นิยมใช้สีทองเน้นที่เครื่องศิราภรณ์ของบุคคลสำคัญในภาพเท่านั้น แต่ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏภายในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒารามวรวิหารนั้น ช่างใช้สีทองอย่างฟุ่มเฟือยประดับในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร อาทิบริเวณส่วนต่าง ๆ ของหลังคาพระอุโบสถ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจั่ว ช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ และเครื่องสังฆภัณฑ์ต่าง ๆ The result of this study “Thudongkawat 13 : The mural painting in the chapel at Wat Mahaphradharam” revealed that gold leaf had been generously used on the painting, no matter it was the rooftimbers, gable, Naga head-shaped horn or even the household utensils. This is significantly different from typical, early Rattanakosin mural paintings which mostly reserve the gold hue to the ornaments of important persons only.
In the reign of King Rama III, western influence had expanded to Thailand and brought along with it the printing techniques which obviously effected to the works of Thai artists at that the focus of horizontal line, especially the three dimension vision and the western style building were generally appeared on the painting.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
152