จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่า วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม

Other Title:
The mural painting from the former Ubosoth of Wat Bangprah, Nakhon Pathom Province
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่า วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นงานจิตรกรรมมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบท้องถิ่นที่มีความคิดในการแสดงออกที่อิสระแตกต่างจากงานจิตรกรรมฝาผนังทั่วไป เป็นจิตรกรรมฝาผนังแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ที่ไม่มีการบูรณะซ่อมแซมในยุคหลัง และไม่ปรากฏหลักฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยใด
จุดมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงลักษณะความเป็นงานจิตรกรรมแบบท้องถิ่น คติความเชื่อ แนวความคิด และเหตุผลในการสร้างสรรค์ โดยพิจารณาควบคู่กับงานวรรณกรรมในพุทธศาสนาและรูปแบบงานจิตรกรรมฝาผนังแบบงานช่างหลวง และเพื่อสันนิษฐานกำหนดอายุสมัยของจิตรกรรมาฝาผนังแห่งนี้ โดยการวิเคราะห์รูปแบบการวางตำแหน่งเนื้อหาและเทคนิคงานจิตรกรรม
ผลการศึกษาพบว่า จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่า วัดบางพระ มีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นงานจิตรกรรมแบบท้องถิ่นปรากฏหลายประการ เช่น การเขียนภาพพระอดีตพระพุทธเจ้าไว้ด้านล่างภาพเทพชุมนุม การเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐานที่มีรายละเอียดลดลง การเขียนภาพเทพชุมนุมผินพระพักตร์ไปทางด้านผนังสกัดด้านหน้า เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคิดที่มีอิสระอย่างสร้างสรรค์ มีความสวยงามและมีคุณค่า สะท้อนให้เห็นถึงการนับถือคติความเชื่อต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปจามสภาพสังคมในยุคนั้น
จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 และเนื่องด้วยเงื่อนไขด้านเวลาของงานช่างท้องถิ่น จึงอาจสันนิษฐานกำหนดอายุได้ว่าจิตรกรรมฝาผนังวัดบางพระน่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 4 The mural Painting inside the old Ubosoth at Wat Bang Prah, Nakhon Chaisri, Nakhon Pathom Province is the only site, in the cradle of Nakhon Chaisri River, that has not been so far renovated. It has a unique style amongst others.
The object of this research is to study the content of the Mural Painting that will focus on the believer, concepts and reason for having it done. Moreover, the style that may be called “Tong Tin” (Local Craftsmen) will be examined along with the style called “Chang Luang” (Royal Craftsmen). Furthermore, in order to investigate the age of the mural painting, the technique and allocation of the content will also be analyzed.
As a result, the mural painting has shown many aspects indicating the “Tong Tin” (Local Craftsmen) style that has its own value. The believes and concepts that have changed according to the society in that period.
The period of undertaking the project or the age of the mural painting that could possibly be around the reign of King Rama 4th
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
122
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ตลาดนัดกับบทบาทผู้บริโภค : กรณีศึกษาตลาดนัดวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต. นครปฐม อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Sanskrit / วิทยานิพนธ์ - ภาษาสันสกฤตType: Thesisมธุกร ตปนีย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2000) -
การปรับตัวของผู้สูอายุในเขตเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisรุจิรางค์ แอกทอง; Rujirang Agthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2006) -
พฤติกรรมการป้องกันการกระทำรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisกรรณิกา อ่างทอง; Kannika Angthong (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009)