จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม : การวิเคราะห์จากมุมมองใหม่

Other Title:
Murals in Ubosoth Wat Chumpolnikayaram : a new aspect analysis
Author:
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จิตรกรรมฝาผนังพระอดีตพุทธเจ้าซึ่งใช้พื้นที่ในการวาดมากที่สุดในพระวิหารหลวงและจิตรกรรมฝาผนังประวัติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันขนาดมหึมาในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม สมควรได้รับการยอมรับว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติของพระอดีตพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศิลปะไทย แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น เพราะแม้จะเป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ก็มีทั้งจิตกรรมฝาผนังของพระอดีตพุทธเจ้าและจิตรกรรมฝาผนังของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันอยู่ในที่เดียวกัน ทั้งยังมีพระประธานประดิษฐานอยู่รวมกันถึง 7 พระองค์ อาคารที่ว่านี้คือพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม
คติการสร้างพระประธานหลายองค์ในความหมายของพระพุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบันและอนาคตที่นิยมในสมัยก่อนหน้านั้น รวมถึงพัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังพระอดีตพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันอันยิ่งใหญ่ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ย่อมส่งอิทธิพลมายังวัดชุมพลนิกายารามซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกายเช่นเดียวกัน แต่จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายารามนั้นวาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ธรรมยุติกนิกายกำลังเติบโต มีการเรียบเรียงพุทธประวัติขึ้นใหม่ ความเชื่อเดิม ๆ ที่เคยเชื่อกันว่าธรรมยุติกนิกายนั้นต้องการปฏิเสธเรื่องราวที่เป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ของพระพุทธเจ้า ขัดแย้งกับข้อสรุปที่ได้จาการศึกษาครั้งนี้ แท้จริงแล้วการเรียบเรียงพุทธประวัติแนวใหม่นั้นน่าจะเชื่อในเรื่องที่พิจารณาแล้วว่าเป็นของแท้ดั้งเดิมโดยใช้คัมภีร์ในพระไตรปิฎกโดยตรง ทำให้มีเรื่องราวจำนวนมากที่เชื่อว่าแต่งขึ้นภายหลังไม่ได้รับการยอมรับและส่งผลอย่างยิ่งต่อการแสดงออกของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถแห่งนี้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ จำนวนของพระพุทธเจ้าในอดีตและปัจจุบันจากเดิมที่เคยมีถึง 28 พระองค์ที่วัดสุทัศนเทพวราราม กลับเหลือเพียง 7 พระองค์เท่ากับจำนวนของพระประธานในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายาราม ทั้งยังสอดคล้องกับมหาปทานสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญในการเรียบเรียงพุทธประวัติแบบใหม่ และเป็นคัมภีร์ที่มาสำคัญของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดชุมพลนิกายารามแห่งนี้ Mural of past Buddhas in the vihan and present Buddha in the ubosoth of Wat Suthat Thepwararam should be recognized as the greatest murals of the Buddhas in Thai art. However, my further interest was on another place. It is only a medium sized building, but it houses murals of the Buddhas both past and present. It also contains seven principle Buddha images. The building I refer to here is the ubosoth of Wat Chumpolnikayaram.
The very popular design ideas of the past that were behind the creation of many of the principle Buddha images representing past, present and future Buddhas as well as the development of the great murals of the past and present Budha at Wat Suthat Thepwararam would later greatly influence the creative design ideas for the drawing of murals in Wat Chumpolnikayaram. Both Wat Suthat Thepwararam and Wat Chumpolnikayaram are the temples in Maha-nikaya sect. However, the murals in the ubosoth of Wat Chumpolnikayaram were created during the reign of King Rama IV while the Dharmayutika-Nikaya sect was growing. The Buddha’s life story had already been rewritten. The former belief that the Dharmayutika-Nikaya sect rejected miracle parts of the Buddha’s life and the present day conclusion of this study are contradictory. In fact, the rewritten version of the Buddha’s life story appears to based on stories believed to be authentic. Only the messages in the Tri-Pitaka were applied. So many episodes believed to be newer have been found to be unacceptable. It also greatly affected the drawing of murals in this ubosoth. The most important one is the reduction in the number of Buddhas from twenty-eight at Wat Suthat Thepwararam to seven at Wat Chumpolnikayaram. This amount – seven – is also equal to the number of principle Buddha images in the ubosoth of Wat Chumpolnikayaram and further relates to Mahapatan-Sutta, one of the most important books used to rewrite the present Buddha’s life story and believed to be the main creative design idea for the drawing of murals in this ubosoth.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
142