ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ วัดไชยทิศ กรุงเทพมหานคร : การกำหนดอายุและภาพสะท้อนทางสังคม

ชื่อเรื่องอื่น:
Mural painting in the ordination hall of Chaiyathit Temple Bangkok : the study of dating and social reflection
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษารูปแบบและเนื้อหาในการเขียนจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ วัดไชยทิศ กรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดอายุและภาพสะท้อนทางสังคม จากการศึกษาพบว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวพุทธประวัติและไตรภูมิเป็นลักษณะของการสืบทอดคติจากสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ก็พบว่ามีการเขียนเรื่องราวอื่นๆนอกจากพุทธประวัติหรือไตรภูมิรวมอยู่ด้วย เช่น ชาดกนอกนิบาต การเขียนเนื้อหาที่แตกต่างออกไปเริ่มนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากรัชกาลนี้โปรดให้มีการแปลคำภีร์ศาสนามากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมเทคนิคการเขียนที่เริ่มต่างจากสมัยก่อนหน้า เช่น ลักษณะทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น ภาพบุคคลชั้นรองมีมากขึ้นเพื่อความสมจริง การตกแต่งผนังบางส่วนเป็นลายดอกไม้เพื่อสร้างบรรยากาศ
นอกจากจะศึกษาด้านรูปแบบของเนื้อหาและเทคนิคแล้ว ภาพจิตรกรรมยังสามารถสะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมในเวลานั้นได้พอสมควร อาทิ การแต่งกายหรือทรงผมของขุนนาง นางกำนัล ชาวบ้านทั่วไป ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นต้น ส่วนในภาพที่ยังคงแสดงการสืบทอดการเขียนแบบประเพณีมาได้แก่ภาพบุคคลชั้นสูงที่แต่งกายแบบอุดมคติ ภาพปราสาทราชวัง กลุ่มชาวต่างชาติ แต่อย่างไรก็ดีการมีชนชาติหลายกลุ่มอยู่ในสังคมเวลานั้นก็ย่อมส่งอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในเวลานั้นด้วย
ดังนั้น ถึงแม้อุโบสถจะมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับเอกสารของกรมการศาสนาที่ระบุว่า วัดนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระวิหารบริเวณด้านข้างที่มีลักษณะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่3 จึงทำให้สันนิษฐานว่า งานจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดไชยทิศนั้นคงบูรณะหรือเขียนขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 พร้อมกับสร้างพระวิหาร
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
1876