รูปแบบสันนิษฐานสามมิติเมืองบางขลัง จากการวิเคราะห์หลักฐานในโบราณคดีและศิลปกรรม

Other Title:
3D reconstruction of Bang Klang Ancient City : the analysis of artistic and archaeological evidence
Author:
Advisor:
Subject:
บางขลัง (สุโขทัย)
สุโขทัย -- บางขลัง -- โบราณสถาน
โบราณคดี -- สุโขทัย -- บางขลัง
โบราณวัตถุ -- ไทย -- สุโขทัย
สุโขทัย -- บางขลัง -- ประวัติศาสตร์
การสำรวจทางโบราณคดี -- ไทย -- สุโขทัย
การขุดค้นทางโบราณคดี -- ไทย -- สุโขทัย
ศิลปกรรมไทย -- ไทย -- สุโขทัย
สถาปัตยกรรมไทย -- ไทย -- สุโขทัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
สุโขทัย -- บางขลัง -- โบราณสถาน
โบราณคดี -- สุโขทัย -- บางขลัง
โบราณวัตถุ -- ไทย -- สุโขทัย
สุโขทัย -- บางขลัง -- ประวัติศาสตร์
การสำรวจทางโบราณคดี -- ไทย -- สุโขทัย
การขุดค้นทางโบราณคดี -- ไทย -- สุโขทัย
ศิลปกรรมไทย -- ไทย -- สุโขทัย
สถาปัตยกรรมไทย -- ไทย -- สุโขทัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
โบราณสถานเมืองบางขลังมีหลักฐานทางด้านศิลปกรรมเหลือน้อยมาก ส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนฐาน การศึกษาเพื่อสันนิษฐานรูปแบบงานศิลปกรรมในเมืองบางขลังครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนำมาวิเคราะห์รูปแบบและกำหนดอายุเพื่อศึกษาแนวทางขึ้นรูปสันนิษฐานที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. เมืองบางขลังมีแนวคิดในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐาน การจัดการน้ำ และลักษณะการใช้พื้นที่ในเมืองคล้ายคลึงกับเมืองโบราณในวัฒนธรรมสุโขทัย เช่น เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางพาน และเมืองนครชุม ทำให้อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มคนในเมืองบางขลังน่าจะเป็นกลุ่มคนเดียวกันกับเมืองในอาณาจักรสุโขทัย
2. การกำหนดอายุเมืองขลังพบร่องรอยการใช้งานมาตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ที่วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดโบสถ์ และพบว่ามีการซ่อมแซมก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 20-21 ส่วนหลักฐานที่ปรากฏในภาพรวมของกลุ่มโบราณสถานส่วนใหญ่กำหนดอายุได้ในช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 แสดงถึงช่วงที่เมืองบางขลังมีความเจริญมากที่สุดในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 20
3. การสันนิษฐานรูปแบบศิลปกรรมเมืองบางขลัง แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามสภาพหลักฐานที่เหลืออยู่ ได้แก่ โบราณสถานที่สามารถสันนิษฐานรูปแบบได้ค่อนข้างชัดเจน โบราณสถานที่เหลือเพียงส่วนฐานสันนิษฐานรูปแบบได้ไม่ชัดเจน โบราณสถานที่ไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบได้ โดยขึ้นรูปสามมิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้หลักฐานสำคัญคือชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมวิเคราะห์ร่วมกับงานศิลปกรรมที่เหลืออยู่ซึ่งพบว่ารูปแบบศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม รองลงมาคือรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังที่ก่อมุขประดิษฐานพระพุทธรูปยื่นออกมาที่ส่วนฐาน ซึ่งแสดงถึงการใช้พื้นที่และภาพรวมของงานศิลปกรรมเมืองขลังที่มีความสัมพันธ์กับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก
การศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการขึ้นรูปสันนิษฐานโบราณสถานเมืองบางขลังทั้งหมด ทำให้เห็นภาพสันนิษฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดเป็นการนำเสนอแนวคิดเพื่อให้เห็นภาพเมืองโบราณที่เป็นบริบทหนึ่งในวัฒนธรรมสุโขทัยเท่านั้น ยังมิใช่ข้อสรุปทางด้านรูปแบบทั้งหมด
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
116
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สุโขทัยในความทรงจำ : การสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมเพื่อตกแต่งโรงแรมสุโขทัยเทรเซอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา
Collection: Theses (Master's degree) - Applied Art Studies / วิทยานิพนธ์ - ประยุกตศิลปศึกษาType: Thesisวัสนี เอี่ยมวชิรากุล; Wasanee Iamwachirakul (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014)วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสม เพื่อตกแต่งโรงแรมสุโขทัยเทรเซอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย ในการดำเนินงานสร้างสรรค์วิทยานิพนธ์ ผู้วิจัยได้รวบรวมศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่เกี ... -
พฤติกรรมและผลจากการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
Collection: Theses (Master's degree) - Development Education / วิทยานิพนธ์ - พัฒนศึกษาType: Thesisชลธิชา จุ้ยนาม; Chonticha Juinam (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย กรณีศึกษาวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
Collection: Theses (Master's degree) - History of Architecture / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมType: Thesisวิโรจน์ ชีวาสุขถาวร; Wiroj Shewasukthaworn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2002)การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย โดยอาศัยวัดมหาธาตุ จ. สุโขทัย เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากวัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญที่สุดภายในเมืองสุโขทัย เป็นสถานที่ที่รวบรวมสถ ...