ภาพสะท้อนสังคมของกลุ่มชนบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในงานจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ 4-5

Other Title:
The reflection of society in the Songkhla Lake Basin through the mural painting in the reign of King Rama IV-V
Author:
Advisor:
Subject:
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- สงขลา
จิตรกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- สงขลา
วัดมัชฌิมาวาส (สงขลา) -- ประวัติ
วัดโพธิ์ปฐมาวาส (สงขลา) -- ประวัติ
วัดคูเต่า (สงขลา) -- ประวัติ
วัดวัง (สงขลา) -- ประวัติ
วัดวิหารเบิก (สงขลา) -- ประวัติ
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดมัชฌิมาวาส (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดโพธิ์ปฐมาวาส (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดคูเต่า (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดวัง (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดวิหารเบิก (สงขลา)
ชาวจีน -- ไทย -- สงขลา
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
จิตรกรรมพุทธศาสนา -- ไทย -- สงขลา
วัดมัชฌิมาวาส (สงขลา) -- ประวัติ
วัดโพธิ์ปฐมาวาส (สงขลา) -- ประวัติ
วัดคูเต่า (สงขลา) -- ประวัติ
วัดวัง (สงขลา) -- ประวัติ
วัดวิหารเบิก (สงขลา) -- ประวัติ
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดมัชฌิมาวาส (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดโพธิ์ปฐมาวาส (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดคูเต่า (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดวัง (สงขลา)
จิตรกรรมฝาผนังไทย -- ไทย -- วัดวิหารเบิก (สงขลา)
ชาวจีน -- ไทย -- สงขลา
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จำนวนทั้งหมด 5 วัดด้วยกัน คือ วัดมัชฌิมาวาส วัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดคูเต่า วัดวัง และวัดวิหารเบิก โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบ เรื่องราวที่ปรากฏ เทคนิคการเขียนภาพ และภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนัง
จากการศึกษาพบว่า งานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาทั้ง 5 วัด เป็นงานที่เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 ลักษณะของงานมีความหลากหลายทั้งในส่วนของเนื้อหา เทคนิควิธี และฝีมือช่าง โดยลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างหลวงที่รับเข้ามาผ่านทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองการปกครองและด้านการค้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเขียนภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นอยู่ด้วย อีกทั้งในงานจิตรกรรมยังปรากฏการเขียนภาพการแต่งกายของทหารตามอย่างชาติตะวันตก ข้าวของเครื่องใช้แบบตะวันตก รวมทั้งการนำเอาเทคนิควิธีการเขียน และเรื่องราวตามอย่างตะวันตกมาใช้ในการเขียนภาพจิตรกรรม ซึ่งการรับเอาอิทธิพลตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพจิตรกรรมนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-5 ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ในงานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ยังปรากฏภาพสะท้อนสังคม ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ สภาพสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เช่น การเขียนภาพบ้านเรือนและวิถีชีวิตแบบภาคใต้ ภาพบุคคลกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนพื้นเมือง ชาวจีน และชาวมุสลิม เป็นต้น การปรากฏภาพสะท้อนสังคม ภาพกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และการเขียนภาพที่เป็นลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นในงานจิตรกรรม แสดงให้เห็นว่านอกจากการรับอิทธิพลมาจากงานเมืองหลวงแล้ว อิทธิพลของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองหรือกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ในภายหลังก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนต่อรูปแบบการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังที่พบในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาแทบทั้งสิ้น
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
252
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ภาษากายจากจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างสงขลาที่วัดโพธิ์ปฐมาวาส อำเภอเมืองสงขลา วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ และวัดคูเต่า อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
Collection: Theses (Master's degree) - Visual Arts / วิทยานิพนธ์ - ทัศนศิลป์Type: Thesisสุวรรณี ดวงตา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2008) -
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา : ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนสงขลาสมัยต้นรัตนโกสินทร์
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisกณิกนันท์ อำไพ; Kaniknan Ampai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005)การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาและตีความงานจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา เพื่อให้ทราบถึงที่มา แนวความคิด และวัตถุประสงค์ในการเขียนภาพจิตรกรรม เนื่องจากจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ปฐมาวาสมีแนวค ... -
พัฒนาการของชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18
Collection: Theses (Master's degree) - History of Southeast Asia / วิทยานิพนธ์ - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้Type: Thesisยงยุทธ ชูแว่น; Yongyutha Chuven (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1986)