การวิเคราะห์การแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี

Other Title:
The analysis of the two-handed Vitarka Mudra Buddha images in Dvaraviti art
Author:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคลี่คลายปัญหาเกี่ยวกับ “ที่มา” และ “ความหมาย” ของการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์สำหรับพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี ซึ่งทั้งประเด็น “ที่มา” และ “ความหมาย” ของการแสดงมุทราดังกล่าวนี้ ได้มีนักวิชาการหลายท่านเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หลายแนวความคิด เช่น แนวความคิดที่เชื่อว่าควรมีที่มาจากการแสดงมุทราของพระพุทธรูปในศิลปะหลังคุปตะ แนวความคิดที่เชื่อว่าควรมีที่มาจากการแสดงมุทราของพระพุทธรูปในศิลปะจีน แนวความคิดที่เชื่อว่าควรมีความหมายเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะตามคัมภีร์อมิตายุรพุทธานุสมฤติสูตรในนิกายสุขาวดี แนวความคิดที่เชื่อว่าควรมีความหมายเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นต้น
ข้อสรุปจากผลการวิจัยนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็นหลัก คือ
1. ที่มาของการแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ในศิลปะทวารวดีนั้น ควรเกี่ยวข้องกับการแสดงวิตรรก-กฎกมุทราในศิลปะอมราวดีตอนปลาย- อนุราธปุระ มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับการแสดงมุทราในศิลปะหลังคุปตะและศิลปะจีน
2. การแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ในศิลปะทวารวดี ไม่ควรมีความหมายที่เจาะจงเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งหรือพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง แต่ควรเพียงการแสดงมุทราที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะทวารวดีอันเนื่องด้วยการปูพื้นฐานจากศิลปะอมราวดีตอนปลาย-อนุราธปุระ และเป็นการแสดงมุทราที่สามารถนำไปใช้แทนความหมาย ทั้งในความหมายของพระพุทธเจ้าศรีศากยมมุนี พระพุทธเจ้าองค์อื่น หรือพุทธประวัติตอนใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจารึก บริบท และบริวารที่แวดล้อมพระพุทธรูปองค์นั้น The objective of this research is to analyse the origin and the meaning of The Two-Handed Vitarka Mudra of the Buddha images in Dvaravati Art. Four hypotheses were established by other scholars in previous studies. The first hypothesis mentioned that the origin of Two-Handed Vitarka Mudra should be originated from mudra of Post-Gupta Buddha Images in cave XIX and XXI at Ajanta, India, The second hypothesis stated that the origin of the Mudra should come from mudra in Northern Wei to Sui Dynasties in Chinese Art, The third hypothesis expressed that the meaning of the Mudra should concern with “Descent from Tavatimsa Paradise” episode in Sakyamuni’s life. The fourth hypothesis stated that the meaning of the Mudra should be Amitabha, the highest Buddha of The Sukhavati sect that had been flourished in China and Japan.
However, in this thesis, the results of the research are different from the above mentioned four hypothese and they can be summarized as followed :
1. The origin of this Mudra should be related to Vitarka-Kataka Mudra Standing Buddha Images of Late Amaravati and Anuradhapura Period.
2. The meaning of this mudra should neither be “Descent of Sakyamuni from Tavatimsa Paradise” nor Amitabha Buddha. But it is merely the most well-know mudra for standing Buddha Images in this period, because of the Late Amaravati-Anuradhapura Influence in Dvaravati. Therefore, the iconographical identification of The Two-Handed Vitarka Mudra Buddha images in Dvaravati Art should depend on the inscription, the attendants or the circumstantial scene of each Buddha Image.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
265