รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19

Other Title:
Style and believe concern with Sri-Lakshmi in the art of Thailnad before 14 A.D.
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบ ที่มาและวิเคราะห์ความหมายของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี – ลักษมีในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบ ความหมายและหน้าที่การใช้งานของงานศิลปกรรมมีที่มาจากประเทศอินเดีย โดยยังคงความหมายหลักคือโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ รูปแบบของพระศรี – ลักษมีแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ พระศรี – ลักษมี ราชยลักษมีและเครื่องหมายศรีวัตสะ
ภาพรวมของงานศิลปกรรมทั้ง 4 กลุ่ม ทั้งรูปแบบและความหมายมีความใกล้เคียงกับอินเดีย แต่เมื่อศึกษาถึงรายลเอียดของงานศิลปกรรมแต่ละชิ้นพบว่ามีความต่างออกไปจากต้นแบบและมีการประยุกต์ขึ้นเองของช่างท้องถิ่น เช่น การนำคชลักษมีมาประดับบนธรรมจักรหรือบนใบเสมา การขยายรูปคชลักษมีให้มีขนาดใหญ่บนงานประติมากรรมคนละด้านคู่กับท้าวกุเวร การทำประติมากรรมลอยตัวราชยลักษมี หรือการนำเครื่องหมายศรีวัตสะมาไว้บนเหรียญเงินและเพิ่มเติมสัญลักษณ์มงคลต่าง ๆ ฯลฯ ศิลปกรรมเหล่านี้มีทั้งที่เป็นรูปแบบเฉพาะที่พบในประเทศไทยเท่านั้น และมีลักษณะร่วมกับที่ปรากฏในอาณาจักรโบราณอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในสมัยเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเหล่านั้น The result concluded Sri – Lakshmi’s style and believes in Thai’ arts pieces have derivation influence style from India’s and can be divided into 4 groups of Sri – Lakshmi, Gajalakshmi, Rajayalakshmi and Srivatsa.
Although the principle meaning of treatments is the same to the origin’s for encouraging the kingdom wishes of fortune and fertility, by review in detail, Thais art pieces have different character to the India’s due to Thais’ local artists concern. The dissimilar samples are revealed in Gajalakshmi on Wheel or Sema, Round relief Gajalakshmi, Gajalakshmi with Kuvera, auspicious symbols in Srivatsa coins, etc. These styles claim to be unique characters only found in Thailand. Some styles also share the resemble to others found in South East Asia country at the same period and it confirm of the relation of those ancient kingdoms.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
454