ประเด็นศึกษาตู้ลายทองสมัยรัตนโกสินทร์

Other Title:
Cabinets with gold motifs in the Rattanakosin period
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาที่มาของตู้พระธรรมในประเทศไทย และมุ่งเน้นในการจำแนกรูปแบบตู้ลายทองในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีจารึกกำกับการสร้างตั้งแต่รัชกาลที่ 1-4 โดยหาความแตกต่างกันของตู้ลายทองในแต่ละรัชกาล รวมถึงอิทธิพลจีนและอิทธิพลศิลปะตะวันตกที่ปรากฏบนตู้ลายทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดอายุที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ผลสรุปของการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. ตู้พระธรรมน่าจะมีที่มาจากตู้จีน โดยอาจเป็นสินค้านำเข้าอย่างช้าสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ทั้งนี้ตู้พระธรรมคงไม่ใช่สิ่งของบริจาคของผู้วายชนม์ดังที่สันนิษฐานต่อกันมาในอดีต เนื่องจากจารึกที่อยู่คู่กับตู้ ล้วนกล่าวไปในทางเดียวกันว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นถวายไว้ในพระศาสนาเป็นการเฉพาะ
2. จากการจำแนกรูปแบบของตู้ลายทองที่มีจารึกกำกับ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-4 ทำให้ทราบว่าโครงสร้างตู้และการประดับตกแต่งบางส่วนอาจใช้ในการกำหนดอายุได้ เช่น การผูกลายที่บานประตูและฝาตู้ ชุดลายเสาขอบตู้ และขาตู้ แต่ในขณะเดียวกันโครงสร้างตู้ เช่น ลิ้นชัก และเชิงตู้อาจเป็นได้เพียงข้อสังเกตร่วมเท่านั้น
3. อิทธิพลศิลปะจีนผสมผสานอยู่บนตู้ลายทองมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ แต่กระแสพระราชนิยมจีนในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ส่งผลให้อิทธิพลศิลปะจีนโดดเด่นมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันอิทธิพลทางศิลปะและแนวคิดแบบสัจนิยมตะวันตก ดูจะส่งผลน้อยมากต่อการสร้างตู้ลายทอง ดังจะเห็นได้จากการแทรกซึมเข้ามาได้เพียงเรื่องของลายที่ใช้ประดับตกแต่ง และเทคนิคการเขียนบางประการเท่านั้น The objectives of this research are to find the derivation of religious book cabinets in Thailand and to classify the styles of Thai lacquer and gilt book cabinets in Rattanakosin period, which have an inscription dating from the reign of King Rama I to King Rama IV, by identifying the differences of the book cabinets amongst each reign as well as indicating Chinese and Western artistic influences which appear on the book cabinets in order to date them more precisely.
The conclusion of the research are as follows :
1. The religious book cabinets might originate from Chinese cabinets which were imported merchandise at least in the late Ayutthaya period. Anyway, Thai religious book cabinets might not be the offerings which the dead donates to Buddhism as it has been said, for the inscriptions on many cabinets indicate similarly that they were especially made for Buddhism.
2. The classification of Thai lacquer and gilt book cabinets with an inscription dating from the reign of King Rama I to King Rama IV in Rattanakosin period shows that the structure of the cabinet and some cabinet decoration could be used to give their age, viz. The decoration of the doors and each side of the cabinets, and the pattern of some motifs adorning the pilasters and the legs of the cabinets. However, some structures of the cabinets could only support other artistic evidences used to fix the date to the cabinets. For instance, the drawers and aprons of the legs of the cabinets.
3. Chinese art influence has occurred on Thai lacquer and gilt book cabinets since before the Rattanakosin period. Besides the royal preference of King Rama III resulted in even more outstanding Chinese art influence whereas the Western artistic influence and the concept of realism seemed to slightly affect the creation of Thai lacquer and gilt book cabinets, as we can see that there are only some decorative Western motifs and some drawing techniques existing on the Thai book cabinets.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
116