งานจำหลักไม้ : สุธนุชาดกและลวดลายประดับฝาปะกนศาลาการเปรียญวัดแก้วไพฑูรย์

Other Title:
Wood carving : Sudhanujataka and ornamental pattern decorating the teaching hall at Wat Kaeopaitoon
Subject:
Date:
2007
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบทางศิลปกรรมและความหมาย รวมทั้งการเรียงลำดับภาพเล่าเรื่อง และรูปแบบทางศิลปกรรมของลวดลายประดับที่สลักบนฝาปะกนศาลาการเปรียญวัดแก้วไพฑูรย์ โดยเปรียบเทียบรูปแบบกับศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง นำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ เพื่อทราบอายุสมัยในการสร้าง และวัตถุประสงค์ในการสร้างศาลาการเปรียญ รวมทั้งความเกี่ยวข้องทางด้านรูปแบบศิลปกรรมของงานจำหลักไม้ กับงานศิลปกรรมประเภทอื่น ๆ
จากการศึกษาพบว่า ศาลาการเปรียญ วัดแก้วไพฑูรย์ น่าจะสร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยภาพเล่าเรื่อง และลวดลายประดับบนฝาปะกนนั้นเป็นงานสมัยแรกสร้าง เนื่องจากต้องจำหลักลวดลายลงบนแผ่นไม้ฝาปะกนแต่ละชิ้นส่วนก่อนที่จะปรุงเป็นเรือน
ภาพสลักลวดลายประดับต่าง ๆ บนฝาปะกน มีรูปแบบประเพณีนิยม น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในช่วงเวลานั้น ซึ่งมีความนิยมภาพลวดลายกระบวนจีน และภาพมงคลตามคติจีนนั้นก็ย่อมที่จะช่วยเสริมสิริมงคลให้กับสถานที่และผู้ที่เข้ามาทำบุญในวัด ภาพเล่าเรื่อง “สุธนุชาดก” เป็นเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก โดยเริ่มเรื่องจากมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ วนทางด้านซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) จนรอบศาลา การหยิบยกเรื่องราวนี้มาจำหลักไว้โดยรอบศาลาการเปรียญนั้น ก็น่าจะเป็นเพราะมีเนื้อเรื่องบางตอนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างศาลาโรงธรรม อันอาจจะเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายในการสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้และปัญญาสชาดกทุกเรื่องล้วนมีเนื้อหาและเหตุการณ์ที่ชวนติดตามแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งเหมาะกับการรับรู้ของประชาชนทั่วไปในการประกอบการเสริมสร้างคุณธรรม สำหรับการศึกษารูปแบบทางศิลปกรรม พบว่ามีการเลียนแบบการจัดองค์ประกอบของภาพ จากฉากบางตอนในพุทธประวัติ และทศชาติชาดก ที่พบได้ในงานประเภทจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณี สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของงานช่าง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและรูปแบบทางศิลปกรรมของกลุ่มช่างในช่วงเวลานั้น This study has the objective to learn the artistic character and the meaning and the arrangement of the pictures to tell a story and the artistic characters of decorated pattern carved on the carved wooden wall of the teaching hall in a monastery of Wat Kaeopaitoon by comparing the character with the related art work and connecting them with the historical information in order to ascertain the age of the creation and the objective in building the teaching hall in a monastery and the relationship regarding the artistic character of the wood-carved works and other kinds of art work.
From the study it was discovered that the teaching hall in a monastery of Kaeopaitoon should have been built around the reign of King Phra Nangklaochaoyuhua King Rama III to the reign of King Mongkut King Rama IV. The pictures tell story and the pattern on the carved wooden wall were the work in the first period of the construction because the pattern must be carved on a piece of wood first before assembling them together.
The carved pictures of various pattern on the carved wooden wall had the form of tradition which might have had the inspiration from the mural painting in that time which had the popularity on Chinese pattern and auspicious pictures according to Chinese principles that they help increase the auspice to the place and people who come to make merits in the temple. The pictures tell the story of Sudhanujataka which is one of the stories in Pannasa jataka by starting the story from the southwest corner and goes to the left (counterclockwise) around the hall. The choosing of this story to carve around the hall might be because there is some part of the story that involve the construction of the preaching hall which might be related to the objective in building this teaching hall and every story of Pannasa jataka has intriguing content and incidents in Thai ancient story which is suitable for the understanding of general people in order to create the moral principles. As for the study of the artistic character, it is discovered that there is an imitation of the picture elements arrangement from some scene in the Life of Buddha and Dasajati Jataka (The last ten lives of the Buddha) that can be found in the traditional mural painting which reflects the relation of the craftsmanship and also exchange the ideas and the artistic character of the group of craftsmen during that period.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
112