พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร รวมถึงสิ่งใดที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตชาวนาที่สะท้อนถึงเฮือนชาวนาซึ่งเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของชาวนาในพื้นที่กรณีศึกษา
การศึกษาครั้งนี้มีคำถามของการศึกษาอยู่ 3 ประการ คือ วิถีชีวิตชาวนาที่ปรากฏในรูปแบบคติชน ประเพณี พิธีกรรม ในพื้นที่กรณีศึกษาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร เฮือนชาวนาอีสานในพื้นที่กรณีศึกษา ในปัจจุบันมีพลวัต อย่างไร และ ผลกระทบอันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนวิถีวัฒนธรรมและกายภาพต่อความเป็นอยู่รวมถึงการดำเนินชีวิตของชาวนาในพื้นที่กรณีศึกษา เป็นอย่างไร
จากการศึกษาโดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากภาคเอกสาร การลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ภายในชุมชนกรณีศึกษา ทำให้เห็นว่า เฮือนชาวนา มีพลวัตอยู่หลายด้านทั้งในเรื่องของวิถีชีวิตชาวนาที่แสดงออกมาในรูปแบบของคติชน ประเพณี พิธีกรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนไป เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงเฮือนชาวนาเองก็เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในการทำนาในรูปแบบใหม่ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิต จึงส่งผลให้ชาวนาในพื้นที่ต้องจัดหาพื้นที่จัดเก็บ เครื่องจักรกลการเกษตรที่มีราคาแพง ให้ปลอดภัยจากการโจรกรรมและง่ายต่อการดูแลรักษา โดยการปรับผังเฮือน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงเพิ่มหรือลดองค์ประกอบต่างๆ ในผังเฮือนชาวนาให้สะดวกและเหมาะสมต่อการใช้ของชาวนา
ประการสุดท้ายที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือเรื่องของการคมนาคมที่มีสะดวกสบายมากขึ้นจากอดีต ทำให้ชาวนาให้ความสำคัญกับการอยู่เฮือนมากกว่าการอยู่ในที่นา ชาวนาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงซ่อมแซมเฮือนให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมที่จะเป็นที่อยู่อาศัย และปรับปรุงต่อเติมบริเวณเฮือนให้เหมาะสมกับการทำนาในวิถีปัจจุบัน รวมถึงปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างเฮือนที่ผุพังตามกาลเวลามาเป็นวัสดุสมัยใหม่ที่มีความแข็งแรงมากกว่า ทนทานมากกว่า และหาง่ายมากกว่าวัสดุเดิม เพราะวัสดุสมัยใหม่มีขายโดยทั่วไปในร้านค้าหรือโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างที่กระจายตัวในพื้นใกล้เคียงชุมชน
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
90
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisพิมพ์พรรณ เชิดชู (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)วิทยานิพนธ์เล่มนี้ทำการศึกษารูปแบบของสิมพื้นบ้านในจังหวัดยโสธร โดยเน้นจุดมุ่งหมายคือการศึกษารูปแบบของสิมในจังหวัดยโสธร ถึงลักษณะของรูปแบบรวมถึงการรับอิทธิพลทั้งจากภายในและภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะจากทางล้านช้าง วิทยานิพนธ์ฉบ ... -
บ้านดิน : สถาปัตยกรรมทางเลือก กรณีศึกษา : บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
Collection: Theses (Master's degree) - Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมType: Thesisดวงนภา ศิลปลาย; Duangnapa Sinlapasai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)จากการปลูกสรางอยางตอเนื่องของบ้านดินในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จนกลายเปนกระแสบานดินขึ้นมา คือ จุดมุงหมายของวิทยานิพนธ บานดิน สถาปัตยกรรมทางเลือก โดยศึกษาถึงปัจจัยแวดลอมตางๆ ในการเลือกปลูก สรางบานดิน โดยกําหนดกรอบการศึกษา ... -
A Study to Propose Guideline for Making Landmark of New Urban Landscape : Case Studies of The River Landscape Improvement Project of The Tuan River, Yasothon
Collection: Theses (Master's degree) - Urban and Environmental Planning / วิทยานิพนธ์ - การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมType: Thesisนวรัตน์ เพชรพวงพิพัฒน์ (Silpakorn University, 10/7/2020)“What are the principles or the guidelines of an appropriate making of landmark which is valuable for conservation or development.” This question has led to the research in order to discover the research finding by studying ...