อิทธิพลศิลปะจีนในงานจิตรกรรมแบบนอกอย่างสมัยรัชกาลที่ 3

Other Title:
Influence of Chinese decorative art on paintings of royal preference : King Rama III
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลศิลปะจีนในจิตรกรรมแบบนอกอย่างในรัชกาลที่ 3 โดยศึกษาผ่านกลุ่มอุโบสถตัวอย่าง 6 แห่งคือ วัดราชโอรสฯ วัดภคินีนาถฯ จันทารามฯ วัดกัลป์ยาฯ วัดสามพระยาฯ และวัดนาคปรก
ในการศึกษาวิจัย สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. การเขียนภาพเครื่องตั้งฯ แบบจีนบนฝาผนัง น่าจะมีที่มาจากความนิยมในกลุ่มชนชั้นนำไทยสมัยรัชกาลที่ 2 ในการจัดตกแต่งบ้านตามแบบชาวจีน
2. ภาพ และลวดลายแบบจีนในตำแหน่งอื่น ๆ แสดงอิทธิพลศิลปะจีนที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ 2 – 3 และน่าสังเกตว่า การใช้ภาพ และลวดลายแบบจีนแตกต่างไปจากสมัยอยุธยาคือ ในบางแห่งมีการประดับด้วยภาพ หรือลวดลายแบบจีนทั้งหมดโดยไม่มีการเขียนภาพ หรือลวดลายแบบไทยประเพณีเลย หรือหากมีก็ปรากฏบางตำแหน่งเท่านั้น โดยภาพและลวดลายแบบจีนปรากฏเป็นเอกเทศ
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเขียนจิตรกรรมแบบนอกอย่าง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา โดยในรัชกาลที่ 2 นั้น ปัจจัยสำคัญคือ ความต้องการหลุดจากกรอบประเพณีเดิม ความเป็นสัจนิยม รวมถึงความนิยมประเทศจีนที่เกิดขึ้นในกลุ่มชนชั้นนำ และเนื่องมาในรัชกาลที่ 3 ปัจจัยเหล่านี้ยังส่งผลต่อเนื่อง และยังมีปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ศิลปะจีนกลายเป็นแบบพระราชนิยมด้วย ซึ่งเหตุผลประการหลัง ทำให้งานจิตรกรรมแบบนอกอย่างเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนระดับล่างลงมา The purpose of this research is to fulfill the knowledge on the role of Chinese decorative art on the paintings of royal preference style of King Rama III. 6 sampled ordination halls are from Wat Ratchaorot, Wat Chantaram, Wat Kalayanamit, Wat Samphraya and Wat Nakprok.
The results of the study are namely :
1. The inspiration of painting Chinese furniture, decorative objects and altar garnitures was the early Rattanakosin – period Thai elites’ fondness for the home decoration of Chinese style.
2. There are also the paintings of Chinese figures and motifs reflecting the influence of Chinese art of the Rattanakosin period. The way of employing those elements is different from those in the Ayutthaya period. The paintings of Thai traditional styles are not found in some ordination halls. Although found in the others, they are not applied to all positions in the halls and that Chinese artistic elements are not subsidiary to Thai artistic ones, as opposed to the mural paintings of the Ayutthaya period.
3. The reasons leading to the appearance of this style of paintings are divided into 2 periods. In the reign of King Rama II, they were the requirements of Thai elites to be free from old traditions and more realistic and their consideration of China as the most important country. In the reign of King Rama III, in addition to those aforementioned factors, there was the other one ; King Rama III favored the Chinese art remarkably. This caused the Chinese – style paintings to be popular among the king’s subjects.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
2962