รูปแบบและคติการสร้างประติมากรรมพระสาวกในศิลปะรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1-5

Other Title:
Buddhist disciple images from the reighs of Kings Rama I to King Rama V
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและอิทธิพลที่มีต่อรูปแบบประติมากรรมพระสาวก ตลอดจนคติ แนวคิด ความมุ่งหมายในการสร้าง และความสัมพันธ์กับเรื่องราวที่มีมาในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยมีขอบเขตการศึกษาที่ประติมากรรมพระสาวกในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชการลที่ 1-5 เป็นสำคัญ
จากการค้นคว้าพบว่ารูปแบบประติมากรรมพระสาวกในศิลปะต่างๆ จะสร้างตามพระพุทธปฏิมาในศิลปะนั้น ๆ ประติมากรรมพระสาวกศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 สืบทอดรูปแบบจากศิลปะอยุธยาและพัฒนาสู่เอกลักษณ์แบบประเพณีอย่างรัตนโกสินทร์เอง ต่อมา เมื่อแนวคิดสัจจะนิยมตะวันตกมีอิทธิพลต่อความคิดของชนชั้นนำสยาม รูปแบบประติมากรรมช่วงรัชกาลที่ 4-5 จึงปรากฏทั้งประติมากรรมพระสาวกแบบแผนประเพณีดั้งเดิม ร่วมกับรูปแบบที่แสงออกถึงความเป็นมนุษย์ปุถุชนมากขึ้น โดยความมุ่งหมายของการสร้างประติมากรรมพระสาวกที่หลากหลาย ทั้งเพื่อการสั่งสมกุศลผลบุญของผู้สร้างเอง อุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ เพื่อเป็นองค์ประกอบประติมากรรมประธานในศาสนสถาน หรือเพื่อสื่อถึงเหตุการณ์เรื่องราวที่มีมาในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงพุทธพาณิชย์ปัจจุบัน
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
722