การพระราชพิธีสิบสองเดือนในจิตรกรรมฝาผนังวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

Other Title:
Mural paintings depict the royal twelve-month ceramonies at Wat Ratchapradit Bangkok
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความถูกต้องของการพระราชพิธีสิบสองเดือนและปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งปรากฏในจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือนภายในอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ในการพิจารณา ตรวจสอบกับงานจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือน
วิธีการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตรวจสอบ และเปรียบเทียบหลักฐานประวัติศาสตร์ศิลปะ ได้แก่หลักฐานภาคสนามคืองานจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือนที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร กับ งานจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือนที่วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา อีกทั้งผู้วิจัยได้ตีความและประเมินคุณค่าเอกสารชั้นต้นชิ้นสำคัญ ๆ ได้แก่ ตำราพระราชพิธีร่วมสมัย วรรณกรรมพระราชพิธี และพระราชพงศาวดารที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้มีความรับผิดชอบด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังของกรมศิลปากร เป็นข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้านหนึ่ง
การตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์ศิลปะกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการหลักที่ใช้ในการวิจัยทำให้ได้ผลการวิจัย ดังนี้
1) จิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือนที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จิตรกรรมดังกล่าวสะท้อนบรรยากาศร่วมสมัยของพระราชพิธีสิบสองเดือน
2) ก่อนการสร้างงานจิตรกรรมจะเริ่มอย่างเป็นระบบ ช่างเขียนได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง อาทิ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ รวมถึงตำราโบราณและประกาศอื่น ๆ
3) เดิมเข้าใจกันว่าพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งถูกนำมาเขียนไว้ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ฯ ล้วนเป็นพระราชพิธีร่วมสมัยที่นิยมจัดขึ้น จากการวิจัยพบว่าพระราชพิธีบางอย่างเป็นพระราชพิธีที่นิยมจัดกันในเวลานั้นจริงแต่บางพระราชพิธีก็กำลังจะสูญหายไปเนื่องจากอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตก
4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุชัดเจนว่า ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนที่สนใจและอนุชนรู้เรื่องพระราชพิธีที่กำลังจะสูญหายผ่านพระราชนิพนธ์ และเช่นกันน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับแรงบันดาลใจในการสร้างงานจิตรกรรมพระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย The purpose of the research were to reveal the rightness of the entire process and the socio-cultural phenomenon of the Royal Twelve-Month Ceremonies Depicted as Mural Paintings in Pra Ubosot Wat Rachpradit, Bangkok : during the reign of King Rama IV and his son, King Rama V, within the scope of historical documents criticism.
The research was completed under the considering, examining and comparing, of varies art historical data and evidences such a mural paintings at Wat Rachpradit Bangkok and Wat Senas Ayutthaya, as the prior field data. A researcher did both interpretation and evaluation essential primarily sources such a contemporary orthodoxies, literatures and royal chronology concerned to the study. Moreover, making the interview with an official responsible for the Thai Mural Painting technical conservatng of The Fine Art Department.
Inspecting art history and historical data each other was the principled method with serious intention to describe the royal process and the socio cultural phenomenon, assisted the researcher to discover many results as ordered below :
1. The Mural Paintings depicted Royal Twelve-Month Ceremonies at Wat Rachpradit Bangkok were constructed in the reign of King Rama V. They effected the contemporaneous atmosphere of the Royal Twelve-Month Ceremonies.
2. Before the job would have been started systematically, the painters did widely study hard many literatures concerned to the ceremonies such a Pra Rachabithi 12 Duens wrote by King Rama V, Kloeng Pra Rachabithi Dvadosamas of Prince Maha Mala, including other ancient textbooks and royal proclamations involved all events.
3. Originally, general scholars erceived that the ceremonies depicted at Wat Rachapradit were the popular tradition in the reign of King Rama V. The discovery of the research confirmed that some ceremony was agree that acknowledgment, but some ceremony was going to be vanished at that time, by the forces of western civilization.
4. Considering to the vanishing and the mere perception of the ceremonies, King Rama V indicated clearly to let the interested people and the younger generations to understand the process and the atmosphere through his textbook, and realized surely through the paintings.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1003