พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์

Other Title:
Word-of-mouth selection behavior on online social media
Author:
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์การ
ใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภค และเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินจำแนกตามการใช้สื่อสังคมออนไลน์
เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ความสำคัญจำนวน 400 ราย จากการตอบ
แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ ดังนี้ คือ การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่า
ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบ
สมมุติฐานโดยใช้เทคนิคการใช้สถิติ One way ANOVA ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
มากกว่า 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากที่สุดมีอายุ 26-30 ปี โดยส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า
35,000 บาท ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปในการใช้สื่อสังคมออนไลน์พบว่า ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละวัน
ตั้งแต่ 3-5 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่ใช้ คือ 20.01–24.00 น. สถานที่ คือ ที่บ้าน ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จาก
สมาร์ทโฟนมากที่สุด กิจกรรมที่ทำจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นการใช้งานโซเซียวเน็ตเวิร์ค และปัจจัยที่ทำให้กดแชร์ ถูกใจ หรือคอมเม้นท์ เป็นเรื่องที่ตนเองชื่นชอบและสนใจ โดยส่วนใหญ่จะติดตามข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ตนเองสนใจบนสื่อสังคมออนไลน์เพราะสนใจเป็นการส่วนตัว
จากผลการวิเคราะห์สมมติฐานการวิจัยพบว่าผู้บริโภคที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนี้
1. จำนวนระยะเวลารวมที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละวันต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสิ้นค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
2. ปัจจัยที่ทำให้กดแชร์ ถูกใจ หรือคอมเม้นท์ เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
3. จำนวนการส่งต่อเนื้อหาในระยะเวลา 1 สัปดาห์ต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
4. ปัจจัยที่ติดตามข้อมูล ข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบบอกต่อบนสื่อสังคมออนไลน์ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Type:
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
398