พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีในศิลปะทวารวดี

Other Title:
Buddha images with Vanaspati in Dvaravati Art
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีในศิลปะทวารวดี แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีนักวิชาการจำนวนมากเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ เอาไว้บ้างแล้ว แต่กระนั้นในหลาย ๆ แง่มุมก็ยังมีความคลุมเครืออยู่ และในงานวิจัยชิ้นนี้มีบางส่วนที่ได้เสนอข้อมูลใหม่อันมีผลทำให้ความเชื่อเดิมเกี่ยวกับพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีต้องเปลี่ยนแปลงไป
ข้อสรุปหลักจากผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. พาหนะที่รองรับพระพุทธเจ้าแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกทำเป็นสัตว์ผสมหรือตัวพนัสบดี ตัวพนัสบดีนี้ไม่ควรเกิดขึ้นจากการนำลักษณะเด่นของสัตว์พาหนะของเทพเจ้าทั้งสามในศาสนาฮินดูมาผสมกัน แต่เป็นสัตว์ผสมที่นิยมทำกันมาก่อนแล้วในศิลปะอินเดีย และได้แพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวารวดีด้วย กลุ่มที่ 2 ทำเป็นครุฑ ทั้งสองกลุ่มมีความหมายที่เชื่อมโยงกันได้ว่าหมายถึงแสงสว่างหรือดวงอาทิตย์ การนำพาหนะทั้งสองมารองรับพระพุทธเจ้าก็อาจเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้าว่าเป็นเทพแห่งแสงสว่าง นอกจากนี้ยังเป็นการเชิดชูฐานันดรอันสูงของพระพุทธองค์ด้วย
2. บุคคลที่ขนาบอยู่สองข้างของพระพุทธเจ้าแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ พระพรหมคู่กับพระอินทร์ กลุ่มที่มีลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ กลุ่มที่เป็นเทวดา
3. พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีอาจจะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อหมายถึงพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง หรือพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่น่าจะสร้างขึ้นเพื่อสื่อให้เห็นถึงฐานันดรอันสูงของพระพุทธองค์ This research focuses on problems concerning Buddha images standing or sitting on the creature so-called “Banaspati” in Dvaravati epon. Although there are many hypotheses regarding these sculptures, some aspects still are obscure.
This study allows me to issue 3 conclusions, namely
1. The vehicle, on which the Buddha stand or sit, can be divided into 2 groups, The first one derives from hybrid animal that can be traced back to the mediaeval Indian art. Contemporaneous with Dvaravati era, These creature, indeed, were depicted in sculptural and architectural elements throughout Southeast Asian art.
Whereas, the first type adapts from mixed being, the second type adopts from mythical bird, Garuda. Most of these vehicles, base on iconographical analysis, can be presumably paralleled with “brilliant light” or “solar light”. Therefore Banaspati, which supports beneath the Buddha, probably emblematizes “The Brilliant Light” of the Buddha himself.
2. Involving the attendants flanking along with the Buddha, we can categorize into several groups, for instance, Indra-Brahma, a pair of Bodhisatva or a pair of Devata.
3. These statues, perhaps, neither narrate a specific scene in his biography nor demonstrate other Buddha. On the other hand, this creature may be intended to manifest the Sage’s supremacy.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 200
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
371