กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา

Other Title:
Antefix of the Ayutthaya period
Author:
Subject:
Date:
1997
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาด้านรูปแบบ วิวัฒนาการ และการกำหนดอายุของลวดลายประดับบนกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาเป็นสำคัญ
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่กระเบื้องเชิงชายที่พบจากการสำรวจ ขุดแต่งโบราณสถาน และที่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเน้นโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กระเบื้องเชิงชายที่พบสามารถจำแนกตามลักษณะของลวดลายได้ 7 ประเภท คือ กระเบื้องเชิงชายประเภทลายเทพพนม ประเภทลายดอกบัว ประเภทลายหน้ากาล ประเภทลายพันธุ์พฤกษา ประเภทลายครุฑยุคนาค ประเภทลายวงโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม และประเภททรงกระจัง
กระเบื้องเชิงชายลายเทพพนมได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมาคือประเภทลายดอกบัว แต่ลายดอกบัวนั้นก็เป็นส่วนประกอบหลักของประเภทลายเทพพนมด้วย ส่วนลวดลายประเภทอื่นพบปริมาณน้อยกว่า
จากการศึกษาลวดลายประดับ สามารถสรุปแนววิวัฒนาการได้ 3 ระยะคือ
1. สมัยอยุธยาตอนต้น
กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 20 ) พบลวดลายประดับประเภทลายดอกบัว ประเภทลายเทพพนม ประเภทลายหน้ากาล และประเภทลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
ดอกบัวมีลักษณะใกล้ธรรมชาติทำทั้งดอกตูมและดอกบาน โดยดอกบัวตูมพบทั้งแบบที่มีก้านและไม่มีก้านมารองรับดอกบัว แต่ได้รับความนิยมอยู่ในระยะเวลาสั้น ๆ
ส่วนดอกบัวบานแบบไม่มีก้านมารองรับเป็นแบบที่นิยมมากกว่าและมีวิวัฒนาการสืบต่อมาจนสมัยอยุธยาตอนปลาย
กระหนกสมัยอยุธยาตอนต้นลักษณะค่อนข้างนูนหนาเน้นความโค้งของกระหนกตัวเหงาอย่างมาก พบว่าทำเป็นลายประกอบอยู่ในประเภทลายดอกบัวและประเภทลายหน้ากาล
2. สมัยอยุธยาตอนกลาง
สมัยอยุธยาตอนกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ) กระเบื้องเชิงชายมีขนาดเล็กลง พบว่าทำลวดลายประดับประเภทลายดอกบัว ประเภทลายเทพพนม ประเภทลายหน้ากาล และประเภทลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
ลักษณะดอกบัวที่เริ่มแปรเปลี่ยนเพราะว่าได้รับอิทธิพลมาจากลายประเภทพันธุ์พฤกษา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 จนที่สุดเมื่อถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ลวดลายประกอบพันธุ์พฤกษาได้แก่ ลายก้านขด ดอกไม้ และใบไม้ ได้เข้ามาเป็นลายประกอบ แต่ก็มีอิทธิพลโดดเด่นกว่ากลีบบัวซึ่งมีขนาดเล็กลง
3. สมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนปลาย (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 ) ส่วนมากกระเบื้องเชิงชายย้อนกลับไปทำขนาดใหญ่ตามแบบอยุธยาตอนต้น พบลวดลายประดับประเภทลายดอกบัว ประเภทลายเทพพนม ประเภทลายหน้ากาล ประเภทลายพันธุ์พฤกษา ประเภทลายครุฑยุคนาค ประเภทลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม และประเภททรงกระจัง
ตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ลายประเภทกนกได้กลับมาได้รับความนิยมแทนลายประเภทพันธุ์พฤกษาอีกครั้งหนึ่ง และได้เป็นส่วนสำคัญในกระเบื้องเชิงชายประเภทที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ประเภททรงกระจัง แต่โดยทั่วไปกระหนกมักจะทำขนาดเล็กและต่ออยู่ที่ปลายของก้านยาว ๆ อันเป็นลักษณะของก้านขดที่นิยมอยู่ในระยะก่อน ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 23 กระหนกได้พัฒนาจนมีลักษณะพลิ้วไหว และบางครั้งได้ทำเป็นกระหนก 3 ตัว อย่างชัดเจน
ในปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ลายใบไม้ และลายใบไม้สามแฉก ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่กลีบบัวจนแทบมองไม่เห็นเค้าดั้งเดิม
นอกจากนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลายยังปรากฏกระเบื้องเชิงชายแบบพิเศษคือ ประเภทลายครุฑยุคนาค และประเภทลายพันธุ์พฤกษาล้วน ซึ่งมีกำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 และต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ตามลำดับ The goal of this thesis is to study typology, stylistic evolution, and dating of the Ayutthaya antefix. Data is based on the antefix from survey, excavation, and collection in the National Museum primarily found in Ayutthaya province.
In this research, the antefix can generally be classified by stylistic variation and evolution into seven styles : an angel in adoration, a lotus, the gala, a floral, the garuda holding the naga, an arch in triangle, and a scroll. Among the most popular styles are the angel in adoration, and the lotus, respectively, The lotus style is also a major element found in the angel in adoration.
Based on a result of analysis, the stylistic evolution of antefix can be grouped into three major periods as follows :
1. The Early Ayutthaya Period (the 20th century B.E.)
The common characteristics found in the Early Ayutthaya were the lotus, the angle in adoration, the gala, and the arch in triangle. The lotus were made in forms of lotus – bud and bloom – lotus which are very similar to nature. Especially, the lotus – bud with a stem and without a stem were popularly adopted in a short period of time. Meanwhile, the blooming lotus with out a stem was more popular and has continued existing till the Late Ayutthaya period. The flame – like designs (Kranok) of the Early Ayutthaya period focused on the thickness of a curve and was a partial design in the lotus and the gala styles.
2. The Middle Ayutthaya Period the 21th – 22th Centuries B.E.)
The antefix obviously decreased in size, although the typical Ayutthaya styles have continuously existed, including the lotus, the angle in adoration, the gala, and the arch in triangle.
Between the 21st and 22nd Centuries B.E., the lotus style has generally changed by adopting floral styles as a part of component design, including a scroll, a flower, and a leaf which were more popular designs than a lotus leaf.
3. The Late Ayutthaya Period (the late 22nd – 23rd Centuries B.E.)
The antefix was mostly increased in size as same as the Early Ayutthaya. The major styles were the lotus, the angel in adoration, the gala, the floral, the garuda holding the naga, the arch in triangle, and the roll of ornament.
Since the late 22nd century, B.E., the flame – like designs were more popular than the floral design and became the most important element of a newly developed style, the scroll. In general, the flame – like design is smaller and connects to a long rolling stem which is a typical rolling stem design of the earlier periods. Later, in the 23rd century B.E., the flame – like design further developed to a rolling pattern of a three flame – like. In the late 23rd century B.E., the lotus leaf was completely replaced by the leaf design, and the trifoliate design.
Furthermore, there were new styles of antefix : the garuda holding the naga and the floral, developing in the late 22nd and 23rd centuries B.E., respectively.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
243